ค้นเจอ 237 รายการ

กระท่อมเลือด

หมายถึงน. ตำรากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).

โฉนด

หมายถึง[ฉะโหฺนด] น. หนังสือสำคัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ก่อนนี้ถ้าเป็นสวนปลูกไม้ยืนต้น เรียกว่า โฉนดสวน, ถ้าเป็นสวนไม้ล้มลุก เรียกว่า โฉนดป่า, เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ เริ่มออกโฉนดแบบใหม่โดยวิธีรังวัดปักหลักเขตลงในที่ดินด้วยหมุดหลักฐานการแผนที่ และแสดงรูปแผนที่ที่ดินนั้นลงไว้ในโฉนดด้วย เรียกว่า โฉนดแผนที่; หนังสือ เช่น ออกโฉนดบาดหมายให้แก่ราชการ. (บรมราชาธิบาย ร. ๔).

อโฆษะ

หมายถึงว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).

สหประชาชาติ

หมายถึง(กฎ) น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทนสันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization).

กำยาน

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Styrax วงศ์ Styracaceae ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง ใบเดี่ยว ด้านบนสีขาว ดอกสีขาว หอมอ่อน ๆ ไม้ต้นชนิดนี้ บางชนิดเมื่อเปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้น แกะออกมาได้ เรียกว่า กำยาน. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง มีกลิ่นหอม เรียกว่า กล้วยกำยาน. (พจน. ๒๔๙๓).

อภิญญา

หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

กษีณาศรพ

หมายถึง[กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).

แกรไฟต์

หมายถึง[แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดำ ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดำ เนื้ออ่อน เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทำไส้ดินสอดำ เบ้าหลอมโลหะ นํ้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจำนวนอนุภาคนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).

กุสุมิตลดาเวลลิตา

หมายถึง[กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๖ คณะ คือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

ม้าลาย

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดำขาวพาดขวางลำตัวตัดกันสะดุดตาเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป.

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

หมายถึง(กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาทต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรีความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ