ค้นเจอ 266 รายการ

พระสนมเอก

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.

กุสุมวิจิตร

หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).

หาก

หมายถึงก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น “อันไตรโลกย์หากบูชา” = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดชพระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).

กิรินท

หมายถึง[-ริน] (แบบ) น. ช้างสำคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).

ธนิต

หมายถึงว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).

ศิลป์

หมายถึง[สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

สนมเอก

หมายถึงน. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.

สดับ

หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).

เก้อ

หมายถึงว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทำอะไรผิดพลาดไป เช่น ทำหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทำแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รำเก้อ เรือนหลังนี้ทำไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.

เรือพระที่นั่ง

หมายถึงน. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ควิวควัง,ควิวควั่ง,ควิวคว่าง,ควิวคว้าง

หมายถึง[-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจรู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ