ค้นเจอ 590 รายการ

โหย่ง,โหย่ง,โหย่ง ๆ

หมายถึง[โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทำให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.

แหย่

หมายถึง[แหฺย่] ก. เอานิ้วมือหรือปลายไม้เป็นต้นแยงเข้าไป; เย้า, ทำให้เกิดความรำคาญหรือไม่สงบอยู่ได้; ลองดูชั้นเชิง.

มีดเจียนหมาก

หมายถึงน. มีดบางขนาดเล็ก ใบมีดรูปยาวรี ปลายเสี้ยว ด้ามมักทำด้วยไม้หรือเขาสัตว์ ใช้เจียนหมาก.

ตะโก้

หมายถึงน. ชื่อลมทะเลพัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มักมีในปลายฤดูฝน, ลมพัดหลวง ก็เรียก.

กฤตยา,กฤตยา,กฤติยา

หมายถึง[กฺริดตะ-, กฺริดติ-] น. การใช้เวทมนตร์, เสน่ห์, อาถรรพณ์, เช่น มนตร์กฤตยานั้นซั้น เสื่อมสิ้นทุกอัน. (โลกนิติ), หาแม่มดถ้วนหน้า หมู่แก้ กฤติยา. (ลอ).

ลำไส้เล็ก

หมายถึงน. ลำไส้ที่ส่วนต้นต่อกับกระเพาะอาหารส่วนปลายต่อกับลำไส้ใหญ่ โดยธรรมดามีขนาดเล็กกว่าลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร.

ไล่ลูกฆ้อง

หมายถึงก. ปรับเสียงลูกฆ้องไม่ให้แปร่ง; โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวหรือลงโทษเรียงตัวตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว.

กริช

หมายถึง[กฺริด] น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรงก็มีคดก็มี เป็นของชาวมลายู.

สาลี่

หมายถึงน. คันเหล็กติดอยู่บนหลังคารถราง ปลายมีลูกรอกยันอยู่กับสายไฟฟ้า เพื่อเป็นทางให้กระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องรถ. (อ. trolley).

มีดชายธง

หมายถึงน. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.

พร้า

หมายถึง[พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสำหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสำหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สำหรับขุดดินได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.

ยิงลม

หมายถึงน. เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ