ค้นเจอ 372 รายการ

เครือเขาน้ำ

หมายถึงน. ชื่อไม้เถาชนิด Tetrastigma lanceolarium Planch. ในวงศ์ Vitaceae ขึ้นในป่าดิบ ลำต้นตอนบนแบนเป็นร่อง ตอนล่างค่อนข้างกลม อุ้มนํ้า นํ้าในลำต้นกินได้.

สันปันน้ำ

หมายถึงน. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขาหรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลำธารที่อยู่แต่ละด้านของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน.

ลำแพน

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Sonneratia วงศ์ Sonneratiaceae คือ ชนิด S. alba Smith ขึ้นตามชายทะเล, ชนิด S. griffithii Kurz และ S. ovata Backer ขึ้นอยู่ตอนในของป่าชายเลน.

บริเฉท,บริเฉท-

หมายถึง[บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกำหนด; ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นหมวด ๆ. (ป. ปริจฺเฉท).

บุรพผลคุนี,ปุรพผลคุนี,ปุพพผลคุนี

หมายถึง[บุระพะ-, บุบพะ-, ปุระพะ-, ปุบพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.

เบ็ดราว

หมายถึงน. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.

กบ

หมายถึงน. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่างหรือประตู ทำหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.

สัญประกาศ

หมายถึง[สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ - ใช้ขีดไว้ใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.

ขนัด

หมายถึง[ขะหฺนัด] น. แถว, แนว, เช่น เรือแล่นเป็นขนัด; ลักษณนามใช้เรียกสวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด. ว. แออัด ในคำว่า แน่นขนัด.

เงี่ยง

หมายถึงน. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร.

ลงราก

หมายถึงก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้างส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.

ผ้านุ่ง

หมายถึงน. ผ้าสำหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอนที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ