ค้นเจอ 264 รายการ

ไพศาขมาส

หมายถึง[ไพสาขะมาด] น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์วิศาขะ คือ เดือน ๖ ตกในราวเดือนพฤษภาคม. (ส.; ป. วิสาขมาส).

เพดาน

หมายถึงน. ส่วนที่สูงที่สุดของห้องเป็นต้น ไม่ว่าจะมีฝ้าหรือไม่ก็ตาม, ถ้าไม่มีฝ้า หมายถึงส่วนสูงสุดถึงหลังคา, ถ้ามีฝ้า หมายถึงฝ้า; โดยปริยายหมายความว่า ระดับสูงสุด เช่น เพดานค่าเล่าเรียน. (ป., ส. วิตาน).

พิสูจน์

หมายถึงก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริงในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).

ทัน

หมายถึงว. เป็นไปตามเวลาที่กำหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กำหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).

ฐากูร

หมายถึง[ถากูน] (แบบ) น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ; ใช้เสริมท้ายชื่อคนที่มีชื่อเสียง เช่น โควินทฐากูร ชื่อผู้แต่งคัมภีร์กาพย์กลอน. (ส. กฺกุร).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.

อมรโคยานทวีป

หมายถึงน. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุเป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.

การวิก

หมายถึง[การะวิก] น. นกการเวก เช่น การวิกรวังวนกุณาล พเพรียกพร้องกระแสงใส. (สมุทรโฆษ). (ป. กรวีก; ส. กรวีก, กลวิงฺก).

วิสามัญฆาตกรรม

หมายถึง[วิสามันคาดตะกำ] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่.

วิเศษ

หมายถึงว. ยอดเยี่ยม, เลิศลอย, เช่น อาหารร้านนี้วิเศษมาก; ยอดเยี่ยมในทางวิทยาคมเป็นต้น เช่น ผู้วิเศษ, กายสิทธิ์, มีอำนาจหรืออิทธิฤทธิ์ในตัว, เช่น พรมวิเศษ ของวิเศษ ดาบวิเศษ. (ส.; ป. วิเสส).

สถวีระ

หมายถึง[สะถะวีระ] (แบบ) น. พระเถระ; ชื่อนิกายหนึ่งของฝ่ายเถรวาท เรียกว่า นิกายสถวีระ หรือ สถีรวาท. (ส. สฺถวิร ว่า ผู้ใหญ่, ผู้สูงอายุ; ป. เถร).

สีทันดร

หมายถึง[-ดอน] น. ชื่อทะเล ๗ แห่ง อยู่ระหว่างภูเขาพระสุเมรุกับภูเขายุคนธร ๑ ระหว่างภูเขายุคนธรกับภูเขาอิสินธร ๑ ระหว่างภูเขาอิสินธรกับภูเขากรวิก ๑ ระหว่างภูเขากรวิกกับภูเขาสุทัสนะ ๑ ระหว่างภูเขาสุทัสนะกับภูเขาเนมินธร ๑ ระหว่างภูเขาเนมินธรกับภูเขาวินตกะ ๑ ระหว่างภูเขาวินตกะกับภูเขาอัสกัณ ๑. (ดู บริภัณฑ์ ๑).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ