ค้นเจอ 235 รายการ

พิษ,พิษ-

หมายถึง[พิด, พิดสะ-] น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความเดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).

โอฆ,โอฆ-,โอฆะ

หมายถึง[โอคะ-] น. ห้วงนํ้า; ในพระพุทธศาสนาหมายถึงกิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์ มี ๔ อย่าง คือ ๑. กาโมฆะ = โอฆะ คือ กาม ๒. ภโวฆะ = โอฆะ คือ ภพ ๓. ทิฏโฐฆะ = โอฆะ คือ ทิฐิ ๔. อวิชโชฆะ = โอฆะ คือ อวิชชา. (ป., ส.).

เสื่อผืนหมอนใบ

หมายถึงน. สำนวนที่เนื่องมาจากการที่คนจีนจากเมืองจีนเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยไม่มีทรัพย์สมบัติหรือข้าวของติดตัวมานอกจากเสื่อกับหมอนเท่านั้นแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้; โดยปริยายหมายถึงมีสมบัติติดตัวเพียงเล็กน้อย แต่มีวิริยอุตสาหะแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้.

อัศวิน

หมายถึง[อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนำหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).

ยติภังค์

หมายถึงน. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คำไม่หมดตรงที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท- ธวิสุทธศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น - ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับพยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคำเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ในบรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.

วิภัตติ

หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).

ราชวรมหาวิหาร

หมายถึง[ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะสงคราม.

พิเศษ

หมายถึงว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษ เขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศเป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษ พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).

สัตบริภัณฑ์,สัตภัณฑ์,สัตภัณฑ์

หมายถึง[สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน] น. ภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้นมีทะเลสีทันดรคั่น. (ป. สตฺตปริภณฺฑ, สตฺตภณฺฑ).

โศลก

หมายถึง[สะโหฺลก] น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.

ราชวรวิหาร

หมายถึง[ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.

วิตามิน

หมายถึงน. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการแต่เพียงจำนวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วยต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ