ค้นเจอ 431 รายการ

ไตรสรณคมน์

หมายถึง[-สะระนะคม] น. การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

ฤๅ

หมายถึง[รือ] เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น รือ เช่น ฤๅษี.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.

ถือหาง

หมายถึงก. เข้าทางฝ่ายที่ตนพอใจ. (มาจากภาษาชนไก่ ยึดเอาไก่ตัวใดตัวหนึ่งในการต่อรอง).

เทศน์,เทศนา

หมายถึง[เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).

หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).

เชน

หมายถึงน. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ศาสดาชื่อมหาวีระ มี ๒ นิกายคือ นิกายทิคัมพร และ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาทางศาสนา ถือมั่นในหลักอหิงสาและมังสวิรัติ, ชิน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส. ไชน).

อาราธนาพระปริตร

หมายถึงก. ขอนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดมนต์ โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า วิปตฺติปฏิพาหาย ... ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ.

รากศัพท์

หมายถึงน. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุ เช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.

อมต,อมต-,อมตะ

หมายถึง[อะมะตะ-, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น. พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

อนุสติ

หมายถึง[อะนุดสะติ] น. ความระลึกถึง; ชื่อธรรมหมวดหนึ่ง เรียกว่า อนุสติ ๑๐ มีพุทธานุสติเป็นต้น. (ป. อนุสฺสติ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ