ค้นเจอ 236 รายการ

ทุ่นระเบิด

หมายถึงน. เครื่องกีดขวางที่มีอำนาจระเบิด ผูกโซ่ถ่วงให้ลอยประจำอยู่ใต้นํ้าเพื่อทำลายหรือต่อต้านการบุกรุกของฝ่ายศัตรูทางทะเล, ถ้าใช้ฝังพรางไว้บนบก เรียกว่า ทุ่นระเบิดบก, เรียกอาณาบริเวณที่วางทุ่นระเบิดไว้เพื่อป้องกันปิดล้อม หรือจำกัดการเคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรูทั้งทางทะเลและทางบกว่า สนามทุ่นระเบิด, เรียกลักษณะการทำลายทุ่นระเบิดที่ศัตรูวางไว้ในทะเลว่า กวาดทุ่นระเบิด.

โยง

หมายถึงก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การโยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้าพ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจำแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสำหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และเรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.

ด้วง

หมายถึงน. ชื่อเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้ยาวประมาณ ๕-๖ เซนติเมตร มีคันยาวประมาณ ๑ เมตร มีสายห่วงติดกับกระบอกไม้ไผ่ส่วนล่าง โยงไปผูกติดกับปลายคัน มีไม้คํ้าอันหนึ่งเพื่อให้คันโก่ง กับไม้ลิ้นพาดปากกระบอกอีกอันหนึ่งทำหน้าที่เสมือนไก สำหรับดักแย้เป็นต้น.

เรือกำปั่น

หมายถึงน. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.

กำปั่น

หมายถึงน. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างหัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอนํ้า เรียกว่า กำปั่นไฟ. (เทียบมลายู หรือ ฮินดูสตานี ว่า capel).

โตงเตง

หมายถึงน. เครื่องหูกชนิดหนึ่ง มี ๒ อันผูกแขวนลงมาสำหรับสวมกระดานที่ม้วนด้าย; เรียกเสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออกว่า เสาโตงเตง, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, เรียกประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตงว่า ประตูโตงเตง. ว. อาการแห่งสิ่งของที่ห้อยแล้วหย่อนยานแกว่งไปมาได้.

กระแจะ

หมายถึงน. ชื่อรูปปลอกเหล็กสำหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกำลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทำด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สำหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สำหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้างกำลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือกำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.

กระสัน

หมายถึงก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.

หัวใจ

หมายถึงน. อวัยวะภายในสำหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มีหัวใจ; ส่วนสำคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกำหนดจำได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า “ทุ. ส. นิ. ม.” หัวใจนักปราชญ์ ว่า “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” หัวใจเศรษฐี ว่า “อุ. อา. ก. ส.”.

ลอย

หมายถึงก. ทรงตัวอยู่ในอากาศ เช่น บัลลูนลอย ว่าวลอย; เด่นขึ้น, นูนขึ้น, เช่น รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา; ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง, ไม่มีตำแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็นพ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา; ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย; อยู่บนผิวน้ำ เช่น จอกแหนลอย; ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ เช่น ลอยกระทง ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน. ว. ไม่มีอะไรคุ้มหรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น โคนลอย ม้าลอย.

ช่วงชัย

หมายถึงน. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.

กรรภิรมย์

หมายถึง[กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสำรับหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนำช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ