ค้นเจอ 240 รายการ

วุฒิสภา

หมายถึง(กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับสภาผู้แทนราษฎรแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน ๒๐๐ คน ตามวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ.

กฎอัยการศึก

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.

ให้ออก

หมายถึง(กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ ให้ออกเมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติทั่วไป.

กางเวียน

หมายถึง(โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคลทำกางเวียน. (กฎหมายเก่า).

ศาลปกครอง

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติอันได้แก่ คดีพิพาทที่เกิดจากการกระทำทางปกครองไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน.

ที่ราชพัสดุ

หมายถึง(กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.

เงิน

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘ °ซ. (อ. silver); วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน, วัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย, ได้แก่ เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร, เงินตรา ก็เรียก; โบราณใช้ว่า งึน เง็น หรือ เงือน ก็มี; (เศรษฐ) วัตถุที่กำหนดให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้. (อ. money).

ศาลล้มละลาย

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้องลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลาย นอกจากนั้นยังรวมถึงคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาทกับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจากการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.

อำนาจ

หมายถึงน. สิทธิ เช่น มอบอำนาจ; อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือความที่สามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น อำนาจบังคับของกฎหมาย อำนาจบังคับบัญชา; ความสามารถหรือสิ่งที่สามารถทำหรือบันดาลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่น อำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์; กำลัง, พลัง เช่น อำนาจจิต อำนาจฝ่ายสูง อำนาจฝ่ายต่ำ; ความรุนแรง เช่น ชอบใช้อำนาจ; การบังคับบัญชา เช่น อยู่ใต้อำนาจ; การบังคับ เช่น ขออำนาจศาล.

จับ

หมายถึงก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกำไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราสจับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทำขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว.

วรรค

หมายถึง[วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมายวรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคำหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะหนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตราปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ