ค้นเจอ 327 รายการ

กรับ

หมายถึง[กฺรับ] น. ไม้สำหรับตีให้อาณัติสัญญาณหรือขยับเป็นจังหวะ ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่น ๒ อัน รูปร่างแบนยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร กว้าง ๓-๔ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร เมื่อตีหรือขยับให้ไม้ทั้ง ๒ อันนั้นกระทบกันจะได้ยินเสียงเป็น “กรับ ๆ” เช่น รัวกรับ ขยับกรับ.

กระตัก

หมายถึง(โบ; เลิก) น. ประตัก คือ ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์พาหนะเช่นวัว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก. (ลักษณะธรรมนูญ).

ลงคอ

หมายถึงว. อาการที่ทำสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้นโดยไม่ตะขิดตะขวง เช่น แม่หาเงินมาด้วยความยากลำบากลูกยังขโมยได้ลงคอ เด็กตัวเท่านี้แม่ยังตีได้ลงคอ.

ท่อ

หมายถึง(โบ) ก. ตี เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก กูไปท่อบ้านท่อเมือง. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).

กระดองหาย

หมายถึงน. ไม้สำหรับสงฟางในเวลานวดข้าว เช่นด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตักและไม้กระดองหาย. (ลักษณะธรรมนูญ), ดอง ดองหาย ดองฉาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก.

กระทุ่ม

หมายถึงก. เอาเท้าตีนํ้าเมื่อเวลาว่ายนํ้า; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ รํ่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน) โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).

รอด

หมายถึงก. พ้นไป, ปลอดจาก, เช่น รอดอันตราย, บางทีหมายความว่า ผ่านพ้นภัยอันตรายหรือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนามาได้ เช่น เครื่องบินตกรอดมาได้ รอดจากถูกครูตี. ว. ถึงจุดหมายปลายทาง เช่น ไปรอด, ถึง เช่น ตลอดรอดฝั่ง.

คุมนุม

หมายถึง(โบ) ก. คุม เช่น อนึ่งวิวาทด่าตีกันแล้วต่างคนต่างมาเรือน ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วัน. (สามดวง), ยังผูกใจโกรธคุมนุมโทษไว้วันหนึ่ง. (กฎ. ราชบุรี).

ปรบ

หมายถึง[ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น ในคำว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่ปรบปีก ช้างปรบหู.

เต่าหับ

หมายถึงน. ไม้ที่ตีติดกับข้างเรือด้านในด้วยลูกประสักเป็นไม้แข็งแรง เจาะรูสี่เหลี่ยมเล็กกว่ารูที่ไม้เสริมแคร่ซึ่งอยู่ข้างบนสำหรับยึดหลักแจวให้แน่น.

คุกคาม

หมายถึงก. แสดงอำนาจด้วยกิริยาหรือวาจาให้หวาดกลัว, ทำให้หวาดกลัว เช่น ภัยคุกคาม, ในบทกลอนใช้ว่า คุก ก็มี เช่น ไป่ขู่ไป่คุก ไป่รุกรุมตี. (สมุทรโฆษ).

ตบ

หมายถึงก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส, เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ