ค้นเจอ 391 รายการ

โป่งวิด

หมายถึงน. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ตัวสีนํ้าตาลลาย ขอบและหางตาสีขาว ปากยาวแหลม ตัวเมียขนาดใหญ่และสีเข้มสวยกว่าตัวผู้ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ.

แก

หมายถึงน. ชื่อนกชนิด Corvus splendens ในวงศ์ Corvidae รูปร่างคล้ายกา แต่ตัวและปากเล็กกว่า ด้านหลังท้ายทอยสีเทา, อีแก ก็เรียก.

กะลิง

หมายถึงน. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula finschii ในวงศ์ Psittacidae หัวสีเทา ตัวสีเขียว ปากแดง หางยาว.

กางเขน

หมายถึงน. ชื่อนกชนิด Copsychus saularis ในวงศ์ Turdidae ตัวขนาดนกปรอด ส่วนบนลำตัวสีดำ ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปสีขาวหม่น ปีกมีลายพาดสีขาว มักอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ กินแมลง, พายัพเรียก จีแจ๊บ, อีสานเรียก จี่จู้.

ตีทอง

หมายถึงน. ชื่อนกชนิด Megalaima haemacephala ในวงศ์ Megalaimidae เป็นนกโพระดกที่เล็กที่สุด ตัวเขียว คอเหลือง อกแดง หน้าผากแดง ขอบตาเหลือง ทำรังในโพรงไม้ กินผลไม้ เช่น ลูกไทร มักเกาะบนต้นไม้สูง ร้องเสียง “ป๊ก ๆ” เป็นจังหวะสมํ่าเสมอ.

สันนิบาต

หมายถึงน. เรียกไข้ชนิดหนึ่งมีอาการสั่นเทิ้ม ชักกระตุก และเพ้อ ว่า ไข้สันนิบาต เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง. (ป., ส.).

ดุเหว่า

หมายถึง[-เหฺว่า] น. ชื่อนกชนิด Eudynamys scolopacea ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็กกว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายและจุดสีขาวพาดตลอดตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลำพัง กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก.

แร้ง

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำพวกเหยี่ยวแร้ง ปีกกว้าง หางสั้น หัวเล็ก ลำคอไม่มีขน กินซากสัตว์ มีหลายชนิด เช่น แร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) พญาแร้ง (Sarcogyps calvus) แร้งสีนํ้าตาล (Gypsindicus) แร้งเทาหลังขาว (G. bengalensis).

หุ่นไล่กา

หมายถึงน. หุ่นที่มักทำเป็นรูปคนสวมเสื้อผ้าสำหรับลวงนกกาให้กลัว ทำให้ไม่กล้าลงมากินพืชผลในไร่นา.

การเวก

หมายถึง[การะ-] น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป.

โหด

หมายถึง(โบ) ว. ไร้, ไม่มี, เช่น นกไร้ไม้โหด, ยากไร้ เช่น เพราะเห็นกูโหดหืน แลดูแคลนกูกลใด ด่งงนี้. (ม. คำหลวง มัทรี).

ทึดทือ

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ