ค้นเจอ 231 รายการ

ขนมเปียกปูน

หมายถึงน. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ก็เรียก.

ลูกดิ่ง

หมายถึงน. โลหะตันรูปทรงกรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของนํ้า ตรวจสอบเสาหรือกำแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่; ตะกั่วก้อนเล็ก ๆ รูปทรงกรวย ใช้ถ่วงสายเบ็ดสำหรับตกกุ้ง; ตะกั่วก้อนกลม ๆ เจาะรูผูกไว้ที่ปลายทั้ง ๒ ข้าง ใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเป็นอาวุธ; ตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา.

โคบอลต์

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มีสมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทำให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนำไปทำเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกำลังมากเป็นพิเศษ ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).

ตก

หมายถึงก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลงมา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้นมา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดูหนาว; เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูกแดดเป็นต้นว่า สีตก; ได้, ถึง, เช่น ตกทุกข์ ตกระกำลำบาก; มาถึง เช่น คำสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว; ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก; เขียนคำที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ; ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถ ตกเรือ; เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอาเป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง; โดยปริยายหมายความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัว ยอมแพ้ หรือหมดกำลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.

รังผึ้ง

หมายถึงน. รังที่ผึ้งทำสำหรับอยู่อาศัยและทำนํ้าผึ้ง, รังที่คนทำให้ผึ้งอาศัยทำรวงข้างใน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; เครื่องสำหรับระบายความร้อนของหม้อนํ้ารถยนต์ มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง; ดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สำหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น, ตะกรับ ก็ว่า.

กล้วย

หมายถึง[กฺล้วย] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น ๒ จำพวก จำพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยนํ้าว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก, จำพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา.

กุ้งเต้น

หมายถึงน. ชื่อสัตว์หลายชนิดในวงศ์ Talitridae, Hyalidae และ Acanthogammaridae เป็นต้น ลักษณะคล้ายกุ้ง ลำตัวมีขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗ ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัวโตกว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัดมามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่สุดท้ายสั้นแข็งใช้สำหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งนํ้าหรือที่ชื้นแฉะ ชนิดที่พบบ่อยตามชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย ได้แก่ Orchestia floresiana.

กระเบื้อง

หมายถึงน. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทำด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้องที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สำหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทำด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจำนวนข้าวเม่าเป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.

ราชธรรม

หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).

อากาศ-

หมายถึง[อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

อากาศ

หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

กระชัง

หมายถึงน. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ