ค้นเจอ 222 รายการ

เกลียว

หมายถึง[เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่องอย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือกที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, นํ้าหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.

กะพ้อ

หมายถึงน. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).

ตะกร้อ

หมายถึง[-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สำหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทำด้วยไม้ หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมีฟันสำหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สำหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้นเนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้าข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สำหรับสวมปากม้าหรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สำหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.

นาย

หมายถึงน. (กฎ) คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

กะ-

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

กะ

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ