ค้นเจอ 284 รายการ

แต่วัน

หมายถึงว. ก่อนเวลากำหนด, ก่อนเวลาสมควร, เช่น งานเริ่มทุ่มหนึ่ง มาแต่วันเชียว, ก่อนเวลาที่ควรเป็น (มักใช้เฉพาะเวลาช่วงบ่ายค่อนไปทางเย็น) เช่น วันนี้กลับบ้านแต่วัน กินข้าวแต่วัน กินเหล้าแต่หัววัน.

ขำ

หมายถึงน. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกายเข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).

แต่หัววัน

หมายถึงว. ก่อนเวลากำหนด, ก่อนเวลาสมควร, เช่น งานเริ่มทุ่มหนึ่ง มาแต่วันเชียว, ก่อนเวลาที่ควรเป็น (มักใช้เฉพาะเวลาช่วงบ่ายค่อนไปทางเย็น) เช่น วันนี้กลับบ้านแต่วัน กินข้าวแต่วัน กินเหล้าแต่หัววัน.

หลอกลวง

หมายถึงก. ใช้อุบายทุจริตลวงให้เข้าใจผิด, (กฎ) แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด.

พิสมัย

หมายถึง[พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).

โฉมยง

หมายถึงน. รูปร่างงามสง่า เช่น หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชายโฉมยง. (อิเหนา), หญิงงามสง่า เช่น พระเพื่อนโฉมยงหย้อง อยู่เพี้ยงดวงเดือน. (ลอ).

สมเพช

หมายถึง[-เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).

สารถี

หมายถึง[สาระถี] น. คนขับรถ, คนบังคับม้า, โดยปริยายหมายความว่า ผู้บังคับหรือฝึกหัด ในความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก. (ป., ส. สารถิ).

เสียชาติเกิด

หมายถึง(ปาก) ก. เกิดมาแล้วควรจะทำให้ได้ แต่กลับไม่ได้ทำหรือทำไม่สำเร็จ หรือทำความดีไม่ได้ ก็ไม่น่าจะเกิดมาเป็นคน เช่น เกิดเป็นไทย ใจเป็นทาส เสียชาติเกิด เกิดมาเป็นคนทั้งที ต้องทำความดีให้ได้ จะได้ไม่เสียชาติเกิด.

หลุดลอย

หมายถึงก. พ้นจากที่ยึดไว้แล้วล่องลอยไป เช่น เรือที่ผูกไว้กับหลัก พอถูกคลื่นซัดก็หลุดลอยไป, โดยปริยายหมายความว่า ขาดพ้นไป, สูญสิ้นไป, หมดโอกาสที่จะได้, เช่น ลาภที่ควรได้หลุดลอยไป โอกาสหลุดลอยไป.

อนุโลม

หมายถึงก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลำดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลำดับ. (ป., ส.).

สุดโต่ง

หมายถึงว. ไกลมาก, ปลายไกลสุด, เช่น บ้านของเขาอยู่สุดโต่ง ไปมาลำบาก แถวลูกเสือยาวเหยียดลูกผมยืนอยู่เสียสุดโต่ง เลยมองไม่เห็น; มากเกินขอบเขตที่ควรเป็น, ตึงหรือหย่อนเกินไป, เช่น การปฏิบัติสุดโต่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ