ค้นเจอ 316 รายการ

กุงาน

หมายถึงน. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ. (สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).

คเนจร

หมายถึง[คะเนจอน] ก. เที่ยวซัดเซไป. น. เรียกตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปในท่าเดิน. (ลัทธิ). (ส. คคเนจร ว่า ผู้ไปในท้องฟ้า).

ชปโยค

หมายถึง[ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).

จานบิน

หมายถึงน. วัตถุบิน ลักษณะคล้ายจาน ๒ ใบควํ่าประกบกัน เชื่อกันว่าเป็นยานอวกาศที่มาจากดาวดวงอื่น, จานผี ก็เรียก.

ควั่งคว้าง

หมายถึง[คฺวั่งคฺว้าง] (กลอน) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).

กราง

หมายถึง[กฺราง] (โบ; กลอน) ว. เสียงอย่างเสียงใบตาลแห้งที่ถูกลมพัดกระทบกัน เช่น ด่งงไม้รงงรจิตร อันอยู่ชชิดทางเทา ร่มเย็นเอาใจโลกย์ ลำโล้โบกใบกราง. (ม. คำหลวง ชูชก).

ชคดี

หมายถึง[ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).

ประโยค

หมายถึง[ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).

กะลาสี

หมายถึงน. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือพลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).

ยึดหัวหาด

หมายถึงก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อสะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน.

โดม

หมายถึงน. หลังคาส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่มีลักษณะโค้งกลมคล้ายผลส้มผ่าครึ่งควํ่า, ส่วนที่มีลักษณะโค้งกลมซึ่งครอบอยู่บนสิ่งก่อสร้าง. (ฝ. dôme).

กว่า

หมายถึง[กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคำใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คำหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คำหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คำหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ลํ๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ