ค้นเจอ 3,468 รายการ

แรงงานสัมพันธ์

หมายถึง(กฎ) น. ความสัมพันธ์ในด้านการจ้างงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการว่าจ้างทำงาน นับตั้งแต่เงื่อนไขการจ้าง สภาพการทำงาน และผลประโยชน์จากการทำงานร่วมกันของทั้ง ๒ ฝ่าย รวมทั้งสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ตลอดจนการร่วมเจรจาต่อรอง และการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อการอยู่ร่วมกันต่อไป.

ละอาย

หมายถึงก. รู้สึกอายที่จะทำสิ่งไม่ถูกไม่ควร เช่น ละอายที่จะทำผิด, ละอายใจ ก็ว่า.

ฝึกปรือ

หมายถึงก. ฝึกให้ทำจนเป็น, หัดให้ทำจนดี, เช่น ฝึกปรือช้างม้า.

ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ

หมายถึง(สำ) ว. ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำดีกว่าด่วนทำ.

ขอแรง

หมายถึงก. ขอให้ออกแรงช่วยทำงาน, บอกเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงาน.

หยิบโหย่ง

หมายถึงว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบโหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.

มโนธรรม

หมายถึงน. ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี, ความรู้สึกว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ.

ร่วมสังฆกรรม

หมายถึงก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงานร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.

สาธารณูปโภค

หมายถึงน. บริการสาธารณะที่จัดทำเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในสิ่งอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เช่น การไฟฟ้า การประปา การเดินรถประจำทาง โทรศัพท์. (อ. public utility).

ค่าภาคหลวง

หมายถึง(กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.

กรรตุวาจก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทำ) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทำ). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).

ใส่สาแหรกแขวนไว้

หมายถึง(สำ) ก. เลี้ยงดูอย่างพะเน้าพะนอไม่ต้องให้ทำอะไร.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ