ตัวกรองผลการค้นหา
สโมสร
หมายถึง[สะโมสอน] น. ที่สำหรับร่วมประชุมคบหากัน เช่น สโมสรข้าราชการ สโมสรทหารบก. ก. ร่วมชุมนุมกัน เช่น ไปร่วมสโมสร. (ป. สโมสรณ; ส. สมวสรณ).
สุภาษิต
หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. (ส.; ป. สุภาสิต ว่า ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว).
ปากหนัก
หมายถึงว. ไม่ใคร่พูดขอร้องต่อใคร ๆ, ไม่ใคร่ทักทายใคร. ก. พูดได้ช้า (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด). น. เรียกยุงที่กัดเจ็บมาก ว่า ยุงปากหนัก.
มือแข็ง
หมายถึงว. ไม่ค่อยไหว้คนง่าย ๆ (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ว่าผู้น้อย); เก่ง เช่น เขาเป็นนักเทนนิสมือแข็ง; เล่นการพนันไม่ค่อยเสีย เช่น เขามือแข็งในการเล่นโป, ตรงข้ามกับ มืออ่อน.
สมถ,สมถ-,สมถะ
หมายถึง[สะมะถะ-] น. การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. ว. มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย. (ป.; ส. ศมถ).
เตาะแตะ
หมายถึงว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินเตาะแตะ, กระเตาะกระแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; เรียกการเล่นการพนันหรือทำการค้าอย่างมีทุนน้อยแล้วต่อทุนให้มากว่า เล่นเตาะแตะ ค้าขายเตาะแตะ.
กรุบ
หมายถึง[กฺรุบ] ว. เสียงดังเช่นนั้นเมื่อเคี้ยวของแข็งที่แตกง่าย. น. ขนมปั้นก้อนชนิดหนึ่ง เรียกว่า ขนมกรุบ; เรียกกะลาอ่อนของมะพร้าวว่า กรุบมะพร้าว.
วิธี
หมายถึงน. ทำนองหรือหนทางที่จะทำ เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอนคณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี; กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).
กระเตาะกระแตะ
หมายถึงว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
เสียภูมิ
หมายถึงก. ถูกลบฐานะ, เสียฐานะท่าที, เช่น เป็นถึงนักมวยชั้นครู มาแพ้นักมวยหัดใหม่ เสียภูมิหมด ปัญหาง่าย ๆ ที่นักเรียนถาม ครูตอบไม่ได้ เสียภูมิหมด.
อักษรบฏ
หมายถึง[อักสอระบด] น. แผ่นผ้าที่เขียนสระ พยัญชนะ ใช้ในการเรียนการสอนในสมัยโบราณ, ที่ใช้แผ่นกระดาษติดผ้าหรือแผ่นกระดาษแทนก็มี. (ส.).
อนุบาล
หมายถึงก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวังรักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).