ค้นเจอ 421 รายการ

ฉ่อย

หมายถึงน. ชื่อเพลงสำหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสำคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.

บังใบ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้ขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร.

กราว

หมายถึง[กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทำบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทำเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สำหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์มหาราช ในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรำเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรงก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้องเป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทำในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือเล่นสนุกกัน ทำนองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.

ลูกคู่

หมายถึงน. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่.

มหาฤกษ์

หมายถึง[-เริก] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้บรรเลงในเวลาได้ฤกษ์เปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานที่ทำงานรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญ ๆ, ปัจจุบันข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์รับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นบุคคลอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในเพลงมหาชัย.

โอด

หมายถึงน. ชื่อเพลงสำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบหรือตาย; วิธีดำเนินทำนองเพลงไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไปโดยแช่มช้าโหยหวน และโศกซึ้ง. ก. ร้องไห้.

ลั่นถัน

หมายถึง(โบ) น. งิ้วประเภทหนึ่ง, งิ้ว; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง เรียกว่า จีนลั่นถัน.

คีตะ

หมายถึง[คีตะ] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

คีต

หมายถึง[คีด] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

ปลิม,ปลิ่ม

หมายถึง[ปะลิม, ปะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, บหลิ่ม ประหลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.

คีตกะ

หมายถึง[คีตะกะ] (แบบ) น. เพลงขับ, การขับร้อง, เช่น แลคีตสำเนียงบรรสาน. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).

ทะแยกลองโยน

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแยมาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ