ค้นเจอ 228 รายการ

เคราะห์

หมายถึง[เคฺราะ] (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๙ ดวง เรียงตามลำดับมหาทักษา คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ ซึ่งถือกันว่ามีเทวดาประจำแต่ละดวง ว่า ดาวพระเคราะห์, เรียกดาวพระเคราะห์ทั้ง ๙ ดวงอย่างรวม ๆ ว่า ดาวนพเคราะห์ ถือว่าเป็นดาวที่ยึดโชคของคน; สิ่งที่นำผลมาให้โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย, มักนิยมใช้ในทางไม่ดี เช่น มีเคราะห์ ฟาดเคราะห์. (ป. คห; ส. คฺรห ว่า ยึด).

ตะขาบ

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ที่มีลำตัวและขาเป็นปล้อง มีหลายวงศ์ หัวและลำตัวยาวแบนหรือค่อนข้างแบน มีจำนวนปล้อง ๑๕-๒๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ไปจนถึงปล้องสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย ขามี ๕-๗ ปล้อง ทอดออกไป ด้านข้างของลำตัวทั้ง ๒ ข้าง มีเขี้ยวซึ่งเป็นขาคู่แรก บางชนิดมีนํ้าพิษ ทำให้ผู้ถูกกัดเจ็บปวด เช่น ตะขาบไฟ (Scolopendra morsitans) ในวงศ์ Scolopendridae, กระแอบ หรือ จะขาบ ก็เรียก.

กกุธภัณฑ์

หมายถึง[กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).

หมัด

หมายถึงน. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในอันดับ Siphonaptera ตัวยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ไม่มีปีก ลำตัวแบนข้าง มีขนเรียงเป็นแถวข้างลำตัวบริเวณปล้องแต่ละปล้อง หัวและอกเล็กกว่าท้อง ขายาว กระโดดได้เก่ง ปากเป็นชนิดเจาะดูด ดูดเลือดคนและสัตว์กินเป็นอาหาร เช่น หมัดคน (Pulex irritans) หมัดหมา (Ctenocephalides canis) หมัดหนู (Xenopsylla cheopsis) ในวงศ์ Pulicidae.

ปะการัง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตายทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลำดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือกปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.

เห่า

หมายถึงน. ชื่องูพิษในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓ เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดำ นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและแผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย มีหลายชนิด เช่น เห่าไทย (N. kaouthia) ซึ่งตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. atra) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้.

กิ้งกือ

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายวงศ์ มีเปลือกตัวแข็ง ลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้อง ไม่แบ่งอกหรือท้องให้เห็น ปล้องตามลำตัวจับกันเป็นคู่ตามยาวยืดหดเข้าหากันได้ ทำให้สามารถขดตัวเป็นวงกลมได้เมื่อถูกรบกวน ปล้องแต่ละคู่จะมีขา ๒ คู่ ยกเว้นปล้องแรกไม่มีขา ปล้องที่ ๒ ถึง ๔ มีขาเพียงคู่เดียว จำนวนขาอาจมีได้ถึง ๒๔๐ คู่ ชนิดตัวโตที่พบบ่อย ๆ อยู่ในสกุล Graphidostreptus ส่วนตัวขนาดย่อมอยู่ในสกุล Cylindroiulus ทั้ง ๒ สกุลอยู่ในวงศ์ Julidae.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

ฐาน

หมายถึง(คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จำนวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้างจำนวนอื่น ๆ โดยการยกกำลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จำนวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จำนวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จำนวนที่บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๑๐) + (๖ ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๗) + (๖ ๗๒).

กรรมาธิการ

หมายถึง[กำ-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.

กะละปังหา

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวเล็กมาก รูปร่างทรงกระบอกหรือรูปถ้วย สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็งหุ้มลำตัว มีช่องเปิดให้ตัวโผล่ออกมา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โครงซากทับถมกันจนมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็งมาก นิยมนำมาทำเป็นลูกปัดเครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดำ, กัลปังหา ก็เรียก. (เทียบมลายู kalam pangha).

จตุรงคนายก

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ