ค้นเจอ 243 รายการ

ภควัม

หมายถึง[พะคะ-] น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ทำหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขกว่า ทำหน้าเป็นภควัม หรือหน้าควํ่าเป็นภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.

กระต่าย

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในวงศ์ Leporidae ขนปุย หูยาว ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีนํ้าตาล ใต้หางสีขาว อาศัยในโพรงดิน ส่วนที่นำมาเลี้ยงตามบ้านมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus.

หมาจิ้งจอก

หมายถึงน. ชื่อหมาชนิด Canis aureus ในวงศ์ Canidae ขนตามลำตัวสีเทาอมนํ้าตาล มีขนลักษณะคล้ายอานม้าบริเวณไหล่ ปากแหลม หูตั้งแหลมตรง หางเป็นพวง เขี้ยวและฟันคมมาก กลางวันมักนอนอยู่ในโพรงดิน ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์.

สิงโตทะเล

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Otariidae ซึ่งอาศัยอยู่ตามริมทะเล มีใบหูเห็นได้ชัด ลำคอยาว ขาไม่มีขนปกคลุม นิ้วไม่มีเล็บ ขาคู่หน้ายาวและอ่อนไปมาช่วยในการยันตัวและว่ายนํ้า ขาคู่หลังแยกออกจากหางช่วยในการเคลื่อนไหว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Zalophus californianus, Otaria byronia.

เสวียน

หมายถึง[สะเหฺวียน] น. ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยหญ้า หวาย หรือฟาง เป็นต้น ถักหรือมัดเป็นวงกลม มักมีหู ๒ ข้างสำหรับหิ้ว ใช้รองก้นหม้อที่หุงต้มด้วยเตาฟืนหรือเตาถ่าน, ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นแผ่นกลม สำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ มีพ้อมข้าวเป็นต้น.

เป๋าฮื้อ

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล Haliotis วงศ์ Haliotidae เปลือกเป็นมุกรูปเหมือนใบหู ด้านข้างมีรูทะลุจำนวน ๖-๗ ช่องเรียงเป็นแถว เกาะอยู่ตามโขดหินในทะเล เนื้อกินได้ เปลือกทำเป็นเครื่องประดับและของใช้ เช่น กระดุม ด้ามมีดพับ พบจำนวนน้อยในน่านนํ้าของประเทศไทย, โข่งทะเล ก็เรียก.

โพระดก

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Megalaimidae ตัวอ้วนป้อมสีเขียว หน้าสีแดง เหลือง หรือนํ้าตาลแล้วแต่ชนิด ปากหนาแข็งแรง ปลายแหลมใหญ่ มีขนแข็งตรงโคนปาก กินผลไม้ มีหลายชนิด เช่น โพระดกธรรมดา (Megalaima lineata) โพระดกหูเขียว (M. faiostricta) โพระดกคอสีฟ้า (M. asiatica).

กระหมวด

หมายถึงน. จอมประสาทศีรษะช้าง เป็นอวัยวะสำคัญที่เกิดขนช้างฐาน ๑ ใน ๕ ฐาน คือ ขนที่หู หาง บรรทัดหลัง กระหมวดหรือโขมด ราวชัก (คือ สีข้างช้าง แต่โดยนิยมถือเอาเฉพาะแนวที่สายประโคนรัด ซึ่งถัดจากขาหน้าไปหน่อยหนึ่ง), ในการดูลักษณะช้างเผือก ใช้ตรวจขนทั้ง ๕ ฐานนี้ เป็นทางประกอบการพิจารณา.

ท้องขาว

หมายถึงน. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดำพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดำยาวไล่เลี่ยกับความยาวของส่วนหัวและลำตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.

จตุปาริสุทธิศีล

หมายถึง[จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).

รูปธรรม

หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).

อ้น

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Rhizomyidae ลำตัวกลมอ้วนป้อมสีนํ้าตาล ตาและหูเล็กมาก ขาและหางสั้น อาศัยอยู่ใต้ดินหรือโพรงไม้ ฟันแทะคู่หน้ามีขนาดใหญ่เห็นได้ชัด ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ อ้นใหญ่ (Rhizomys sumatrensis) อ้นกลาง (R. pruinosus) และอ้นเล็ก (Cannomys badius).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ