ตัวกรองผลการค้นหา
โทธก
หมายถึง[-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตำรากลอน).
ศิษย์ก้นกุฏิ
หมายถึง[-กุติ] น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึงศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.
กระวีชาติ
หมายถึงน. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทองโดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎรล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
เฮอริเคน
หมายถึงน. ชื่อพายุที่มีความเร็วลมเช่นเดียวกับพายุไต้ฝุ่น แต่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ลมสลาตัน ก็เรียก. (อ. hurricane).
กฤติกา
หมายถึง[กฺริดติ-] (โบ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวงเห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว เช่น หมู่สามสมมุติ์กุกกุฏโบ- ดกกฤติกาขาน. (สรรพสิทธิ์), ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).
กมล
หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
ชาติ,ชาติ,ชาติ-,ชาติ-
หมายถึง[ชาด, ชาติ-, ชาดติ-] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กำเนิด เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ ชาติขี้ข้า; ชนิด, จำพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ. (ป., ส.).
วิกัติการก
หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
กมลา
หมายถึง[กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
กมล-
หมายถึง[กะมะละ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
อาเทศ
หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
วิภัตติ
หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).