ค้นเจอ 227 รายการ

มนู

หมายถึงน. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกันเป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออกกฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คำ มนู จึงหมายถึงกฎหมายก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).

เบญจโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๕ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งสีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือ ทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

เกย

หมายถึงน. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้นหรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน.

พรหม,พรหม-

หมายถึง[พฺรม, พฺรมมะ-] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหารทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหมของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).

ยศ

หมายถึง[ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูงต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกำหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).

นวโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้านํ้าเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

สัตโลหะ

หมายถึง[สัดตะ-] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้าน้ำเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

แรงงาน

หมายถึงน. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้องอาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากรในวัยทำงาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากำไร เช่น วันแรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของชาวบ้าน; ความสามารถในการทำงานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทำในการผลิตเศรษฐทรัพย์.

นาคปรก

หมายถึง[นากปฺรก] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาค อีกแบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกายไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน.

ฐาน

หมายถึง(คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จำนวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้างจำนวนอื่น ๆ โดยการยกกำลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จำนวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จำนวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จำนวนที่บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๑๐) + (๖ ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๗) + (๖ ๗๒).

ศก

หมายถึงน. ระบบการคำนวณนับเวลาเรียงลำดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคำว่า รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคำย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คำเรียกปีหนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).

กะละปังหา

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวเล็กมาก รูปร่างทรงกระบอกหรือรูปถ้วย สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็งหุ้มลำตัว มีช่องเปิดให้ตัวโผล่ออกมา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โครงซากทับถมกันจนมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็งมาก นิยมนำมาทำเป็นลูกปัดเครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดำ, กัลปังหา ก็เรียก. (เทียบมลายู kalam pangha).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ