ค้นเจอ 247 รายการ

สเต๊ก

หมายถึง[สะ-] น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยเนื้อสันหรือปลาเป็นต้น หั่นชิ้นใหญ่ ๆ มักปรุงรส แล้วนำไปย่างหรือทอด กินกับมันฝรั่งทอด บดหรือต้ม และผักบางชนิด ใส่เครื่องปรุงรสตามชอบ. (อ. steak).

สู้

หมายถึงก. เอาชนะกันด้วยกำลังกาย อาวุธ หรือสติปัญญาความสามารถเป็นต้น เช่น ชกสู้เขาไม่ได้จึงยอมแพ้ ทหารสู้กันในสนามรบ เล่นหมากรุกสู้กัน; มีสติปัญญาความสามารถเป็นต้นทัดเทียมกันหรือเหนือกว่า เช่น มีสติปัญญาสู้เขาได้; ยอมทน เช่น พูดไปก็ไม่ดี สู้นิ่งไม่ได้.

เร่อร่า

หมายถึงว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.

กะเร่อกะร่า

หมายถึงว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่าอย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.

ฉัททันต์

หมายถึง(แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก); ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).

เล่อล่า

หมายถึงว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเล่อล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเล่อล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเล่อล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเล่อล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อกะล่า หรือ เร่อร่า ก็ว่า.

กะเล่อกะล่า

หมายถึงว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเล่อกะล่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเล่อกะล่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเล่อกะล่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเล่อกะล่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.

เหม,เหม-

หมายถึง[เหมะ-] น. ทองคำ; ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า เหมหัตถี กายสีเหลืองดั่งทอง. (ดู กาฬาวก). (ป.); เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่างซึ่งมียอดแหลมปิดทอง; เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับบัวกลุ่ม.

ละครร้อง

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจาตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.

สากล

หมายถึงว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคำ “ระหว่างประเทศ” ก็มี เช่น สภากาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).

ข้าม

หมายถึงก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู, ผ่านจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง เช่น ข้ามฟาก ข้ามถนน, ล่วงพ้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามมหาสมุทร, ล่วงพ้นช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามวันข้ามคืน, ผ่านเลยลำดับ เช่น ข้ามชั้น อ่านหนังสือข้าม.

อนันตริยกรรม

หมายถึง[-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ