ค้นเจอ 398 รายการ

ท่า

หมายถึงน. ฝั่งนํ้าสำหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สำหรับขึ้นลงริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลำคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.

หมายเกณฑ์

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเกณฑ์.

ระแทะ

หมายถึงน. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, กระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า.

แปรก

หมายถึง[ปะแหฺรก] น. ไม้ยาวสำหรับประกับหัวเพลาทั้ง ๒ ข้างของเกวียนหรือราชรถ กันไม่ให้ลูกล้อเลื่อนหลุด โดยมีไม้ขวางทางหรือแปรกขวางทางยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้าน.

สามานยนาม

หมายถึง[สามานยะ-] (ไว) น. คำนามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน สัตว์ และสิ่งของ เช่น เด็ก นก หนังสือ ลม ใจ.

มึน

หมายถึงก. เมาอ่อน ๆ, รู้สึกวิงเวียน เช่น มึนศีรษะ, รู้สึกตื้อในสมอง เช่น อ่านหนังสือมากชักมึน, มึนหัว ก็ว่า.

อักขรวิธี

หมายถึงน. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).

ปิดคดี

หมายถึง(กฎ) ก. การที่โจทก์และจำเลยแถลงด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้ง ๒ อย่างเมื่อสืบพยานจำเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคำพิพากษา.

ปริทัศน์

หมายถึง[ปะริทัด] น. การวิจารณ์; หนังสือประเภทวารสารที่วิจารณ์ข่าวหรือเรื่องราวต่าง ๆ. (ส. ปริ + ทรฺศน).

ลิขิต

หมายถึงน. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์). ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. (ป., ส.).

ประทานบัตร

หมายถึง[ปฺระทานนะบัด, ปฺระทานบัด] (กฎ) น. หนังสือสำคัญที่ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เพื่อให้มีสิทธิทำเหมืองแร่ภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น; ใบอนุญาตซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดออกให้แก่บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทำการประมงในที่ว่าประมูล.

นาภี

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ