ค้นเจอ 899 รายการ

หยอก

หมายถึงก. เล่นหรือล้อไม่จริงจัง. ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่า มาก เช่น เก่งไม่หยอก คือ เก่งมาก.

ทีฆสระ

หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.

อโฆษะ

หมายถึงว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).

ฟุต

หมายถึงน. มาตราวัดของอังกฤษ ๑ ฟุต เท่ากับ ๑๒ นิ้ว. (อ. foot).

ธนิต

หมายถึงว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).

พวน

หมายถึงน. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่งได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย.

ประพจน์

หมายถึงน. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมีความหมายกำกวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).

สัทวิทยา

หมายถึง[สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษาโดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).

ออกภาษา

หมายถึงน. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.

นวยนาด

หมายถึงก. เยื้องกราย, กรีดกราย; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (เงาะป่า).

ลื้อ

หมายถึงน. ไทยพวกหนึ่งอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา.

วาณี

หมายถึงน. ถ้อยคำ, ภาษา. (ป., ส.); เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ