ค้นเจอ 395 รายการ

วัยหนุ่ม

หมายถึงน. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี, ใช้แก่ชาย.

ผม

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ใช้พูดโดยสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ตะแบงมาน

หมายถึงว. วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวแล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ, ตะเบ็งมาน ก็ว่า.

อี่

หมายถึง(โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย, คู่กับ คำที่เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย, เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกยี่.

แว่ว

หมายถึงก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.

เทครัว

หมายถึงก. ยกครอบครัวไป, กวาดครอบครัวไป; โดยปริยายเรียกชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้องว่า พระยาเทครัว.

บ่าวขุน

หมายถึงน. ชื่อวิธีนุ่งผ้า นุ่งห้อยชายข้างหนึ่งอย่างพระยายืนชิงช้านุ่ง. (สิบสองเดือน).

กระแด้ง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เรียกชายหรือหญิงที่เป็นหมันว่า พ่อกระแด้ง แม่กระแด้ง. ว. คดไปมา. (ปาเลกัว).

ฉกรรจ์

หมายถึง[ฉะกัน] ว. ห้าวหาญ เช่น ใจฉกรรจ์, แข็งแรงสมบูรณ์ เช่น วัยฉกรรจ์ ชายฉกรรจ์, รุนแรงอาจถึงตาย เช่น แผลฉกรรจ์.

โสด

หมายถึงน. กระทงความส่วนหนึ่ง, ส่วน, แผนก, เช่น อีกโสดหนึ่ง. ว. ทีเดียว; เดี่ยว, โดด, ไม่มีคู่, ยังไม่มีสามีหรือภรรยา, เช่น ชายโสด หญิงโสด.

ลก

หมายถึงว. หก; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า อก.

ส่าหรี

หมายถึง[-หฺรี] น. เครื่องแต่งกายสตรีอินเดียแบบหนึ่ง เป็นผ้าชิ้นยาวประมาณ ๕-๖ เมตร ใช้เป็นทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม ส่วนที่นุ่ง ยาวกรอมส้น พันรอบตัวและจีบข้างหน้าเหน็บไว้ที่เอว ส่วนผ้าห่มใช้ชายผ้าที่เหลือพาดอกและสะพายบ่า โดยมากเป็นบ่าซ้ายห้อยชายไปข้างหลัง ชายที่ห้อยดึงมาคลุมหัวก็ได้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ