ค้นเจอ 297 รายการ

เรขาคณิตวิเคราะห์

หมายถึง(คณิต) น. เรขาคณิตที่ใช้สมการมาควบคุมเซตของจุดที่เรียงกันเป็นรูปทรงต่าง ๆ แล้วอนุมานผลลัพธ์จากการแก้สมการนั้น ๆ พร้อมทั้งการแปลความหมายด้วย.

ประเคราะห์

หมายถึง(แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกำราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).

ดะ

หมายถึงใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ด ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ดะด่อน ดะดัก ดะดุ่ม.

มหาวงศ์

หมายถึงน. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนานพระพุทธศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัยพระเจ้าคชพาหุ.

ปักษ,ปักษ-,ปักษ์

หมายถึง[ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).

โอษฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับสระอุ อู. (ป. โอฏฺช; ส. โอษฺฐฺย).

อาคม

หมายถึง[-คม] น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).

หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.

จลา

หมายถึง[จะ-] (แบบ) น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คำหลวง แปลจากคำ คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร).

สัมผัสอักษร

หมายถึงน. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จำใจจำจากเจ้า จำจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลักภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).

อัป,อัป-

หมายถึง[อับปะ-] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).

ไขว้โรง

หมายถึงก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ