ค้นเจอ 383 รายการ

ถูปารหบุคคล

หมายถึง[-ระหะ-] น. บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา ได้แก่พระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป.).

ปะเหลาะ,ปะเหลาะปะแหละ

หมายถึงก. พูดจาหว่านล้อมเอาอกเอาใจ เช่น ผู้ใหญ่ปะเหลาะเด็ก, พูดหรือทำสนิทชิดชอบให้เขาพึงใจเพื่อหวังประโยชน์ตน.

ศรวณีย์

หมายถึง[สะระวะนี] ว. พึงได้ยิน, ควรได้ยิน; น่าฟัง, น่าชม. (ส.; ป. สวนีย).

น้ำหนัก

หมายถึงน. ความหนักของสิ่งต่าง ๆ, ความสำคัญ เหตุผล หรือพยานหลักฐาน เป็นต้น ที่ควรแก่การเชื่อถือ หรือที่จูงใจให้เชื่อถือ.

ถูป,ถูป-

หมายถึง[ถูปะ-] (แบบ) น. เจดีย์ซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา มีกระดูกของบุคคลที่นับถือเป็นต้น. (ป.).

มัน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สำหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสำหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

กรณีย

หมายถึง[กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทำ, อันพึงทำ. (ป.).

งก

หมายถึงก. แสดงอาการอยากได้หรือไม่อยากเสียจนเกินควร. ว. มีอาการสั่นอย่างคนแก่หรืออย่างกลัวหรืออย่างหนาวมาก.

เต่อ

หมายถึงว. สั้นหรือสูงเกินควร เช่น แขนเสื้อสั้นเต่อ นุ่งผ้าสูงเต่อ, เตินเต่อ ก็ว่า.

เสวนะ,เสวนา

หมายถึง[เสวะ-] ก. คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. น. การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).

ใส่ใจ

หมายถึงก. ใส่ไว้ในใจ, จดจำ, เช่น จำใส่ใจไว้ให้ดีนะ, เอาใจจดจ่อ เช่น นักเรียนควรใส่ใจในการศึกษาเล่าเรียนให้มาก.

บรัด

หมายถึง[บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัดแห่งพระองค์. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ