ค้นเจอ 435 รายการ

ถาก

หมายถึงก. ฟันเอาเปลือกหรือส่วนนอกออก เช่น ถากเปลือกไม้ ถากเสา, ใช้จอบเป็นต้นดายให้เตียน เช่น ถากหญ้า ถากดิน. ว. เฉียง ๆ, ถูกผิว ๆ, เช่น ฟันถากไป.

ตอง

หมายถึงน. ใบไม้ขนาดใหญ่ใช้ห่อของได้ เช่น ตองกล้วย; เรียกไพ่ไทยชนิดหนึ่ง โดยปรกติเล่นกัน ๖ ขา ว่า ไพ่ตอง, จำนวนไพ่ที่มีเหมือนกัน ๓ ใบ เรียกว่า ตอง, ลักษณนามเรียกไพ่ที่เหมือนกัน ๓ ใบ เช่น ไพ่ตองหนึ่ง ไพ่ ๒ ตอง.

เม่า

หมายถึงน. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่ารางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าวขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสมน้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรยด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.

กระช้อย

หมายถึงว. ชดช้อย เช่น ดูเราะรายเรียบร้อยกระช้อยชด. (นิ. เดือน), และใช้เข้าคู่กับคำ กระชด เป็น กระชดกระช้อย.

ขื่อมุก

หมายถึงน. แกนเปลือกที่อยู่ในตัวหอยจำพวกหอยสังข์ใช้ทำด้ามทัพพีเป็นต้น.

ศพละ

หมายถึง[สะพะละ] ว. หลายสี, ด่าง, ลาย, พร้อย, กระ; วุ่น, รำคาญ. (ส.; ป. สพล).

กำยาน

หมายถึงน. วัตถุหอมชนิดหนึ่ง เกิดจากยางใสกลิ่นหอมที่ออกจากเปลือกของต้นกำยานบางชนิด เกิดขึ้นได้เนื่องจากเปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้น แกะออกมาได้.

กระซิบ

หมายถึงก. พูดเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระซุบ เป็น กระซุบกระซิบ.

กำเสาะ

หมายถึงก. กระเสาะ, เสาะ, เช่น เสือกซบสยบสกลลง กำเสาะโศกระด้าวดาล. (สุธน).

เล็บมือนาง

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Quisqualis indica L. ในวงศ์ Combretaceae ดอกแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อ เมล็ดใช้ทำยาได้. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa acuminata Colla ผลเล็กอย่างนิ้วมือ.

พริกไทย

หมายถึงน. ชื่อไม้เถาชนิด Piper nigrum L. ในวงศ์ Piperaceae ผลมีรสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร และทำยา, ถ้ามีเปลือกหุ้มอยู่เรียกว่า พริกไทยดำ, ถ้าเอาเปลือกออก เรียกว่า พริกไทยล่อน หรือ พริกไทยขาว.

งอม

หมายถึงว. สุกจัดจนเกือบเน่าหรือเละ เช่น กล้วยงอม มะม่วงงอม, โดยอนุโลมใช้กับคนที่แก่มากจนทำอะไรไม่ไหว เช่น ปีนี้คุณยายดูงอมมาก, โดยปริยายหมายความว่า แย่ เช่น ถูกใช้ให้ทำงานเสียงอม, บอบชํ้า เช่น ถูกตีเสียงอม, ได้รับทุกข์ทรมานมาก เช่น เป็นไข้เสียงอม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ