ค้นเจอ 486 รายการ

วันตรุษ

หมายถึงน. วันสิ้นปีซึ่งกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔.

สุรุ่ยสุร่าย

หมายถึงว. ชอบจับจ่ายใช้สอยสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เช่น เขามีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย เงินเดือนจึงไม่พอใช้.

อุจเฉท,อุจเฉท-

หมายถึง[อุดเฉด, อุดเฉทะ-] ก. ขาดสิ้น, สูญ. (ป., ส.).

ทัศนวิสัย

หมายถึง(ภูมิ) น. ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร.

เทียรฆ,เทียรฆ-

หมายถึง[เทียนคะ-] ว. ยาว, ไกล, นาน, ยืน. (ส. ทีรฺฆ; ป. ทีฆ).

ถอนรากถอนโคน

หมายถึง(สำ) ก. ทำลายให้ถึงต้นตอ, ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม, ถอนต้นก่นราก ก็ว่า.

พิมพาภรณ์

หมายถึงน. เครื่องประดับร่างกาย ในคำว่า ถนิมพิมพาภรณ์. (ป. พิมฺพ + อาภรณ).

บิตุจฉา

หมายถึง[-ตุดฉา] (แบบ) น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป. ปิตุจฺฉา).

อาจารี

หมายถึงน. ผู้มีจรรยา, ผู้ทำตามคติแบบแผน. (ส. อาจารินฺ).

วิชชา

หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

แล้ว

หมายถึงว. ลักษณะอาการกระทำใด ๆ เสร็จ สิ้น จบ ล่วงไป หรือสุดสิ้นลง เช่น กินแล้ว ทำแล้ว นอนแล้ว หรือต่อแต่นั้นเริ่มใหม่อีกระยะหนึ่ง (จะเป็นการกระทำอย่างเดียวกันหรือต่างกันแล้วแต่กรณี) เช่น กินแล้วนอน ขึ้นรถแล้วลงเรือ.

ร่อยหรอ

หมายถึงก. ค่อยหมดไป, หมดไปสิ้นไปทีละน้อย, เช่น เงินทองร่อยหรอ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ