ค้นเจอ 347 รายการ

ฟื้น

หมายถึงก. กลับคืนมาใหม่ เช่น ฟื้นความทรงจำ ฟื้นสติ, คืนความรู้สึก เช่น ฟื้นจากสลบ, พลิกกลับขึ้นมา เช่น ฟื้นดิน; ถอนขึ้น เช่น ฟื้นมัน.

กระจกเว้า

หมายถึงน. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวหงาย สามารถสะท้อนแสงให้เกิดภาพจริงหัวกลับได้บนจอที่ขวางรับแสงสะท้อน.

ต้ม

หมายถึงก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทำให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทำให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดยปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.

ส้มหยุด

หมายถึงสามารถสั่งส้มที่กำลังกลิ้งอยู่ให้หยุดได้

ไม้สูง

หมายถึงน. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกาว่า เล่นไม้สูง; เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง; โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง.

ตอแหล

หมายถึง[-แหฺล] เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).

สิ่ว

หมายถึงน. ชื่อเครื่องมือของช่างไม้ช่างทองเป็นต้น มีทั้งชนิดมีคมและไม่มีคม สำหรับใช้ตอก เจาะ สลัก เซาะ ดุน แร เป็นต้น.

แก้วกุ้ง

หมายถึงน. รังไข่ของกุ้งที่เจริญเต็มที่ มีสีแดงอมส้มหรือสีส้ม, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นมันกุ้งที่เป็นก้อนอยู่ในหัวกุ้ง.

ข้าวมัน

หมายถึงน. ข้าวเจ้าที่หุงด้วยกะทิให้สุก มักกินกับส้มตำ, ข้าวเจ้าผัดกับมันไก่ แล้วหุงแบบไม่เช็ดน้ำ; (ถิ่น-พายัพ) ข้าวเหนียวหุงแล้วมูนด้วยกะทิ.

เงือด,เงือดงด

หมายถึงก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคำรบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).

ข่อน

หมายถึงว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคำคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

แก้

หมายถึงน. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สำหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ