ค้นเจอ 238 รายการ

ปรบ

หมายถึง[ปฺรบ] ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น ในคำว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า; ตี เช่น ไก่ปรบปีก ช้างปรบหู.

สื่อ

หมายถึงก. ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน. น. ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน กุหลาบแดงเป็นสื่อของความรัก, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำเพื่อให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม.

ลืมหูลืมตา

หมายถึงก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.

สาธยาย

หมายถึง[สาทะยาย, สาดทะยาย] น. การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).

การเวก

หมายถึง[การะ-] น. ชื่อนกในวงศ์ Paradisaeidae มีหลายสกุล หลายชนิด ทุกชนิดมีสีสันสวยงาม พบเฉพาะในเกาะนิวกินี เกาะใกล้เคียง และตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ชนิด Paradisaea apoda.

บดีพรต,บดีวรดา

หมายถึงน. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัวแก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็นชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่านั้น. (ส. ปติวฺรต, ปติวฺรตา).

ทะลึ่ง

หมายถึงก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ทะลึ่งขึ้น; แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควรในเรื่องที่มิใช่ธุระของตัวหรือในเวลาที่เขาไม่ต้องการ, แสดงกิริยาหรือวาจาอาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง.

อินทรียสังวร

หมายถึงน. ความสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).

อภิญญา

หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

อภิ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

รู้เหนือรู้ใต้

หมายถึงก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือหนใต้ ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ