ค้นเจอ 267 รายการ

ไก่ป่า

หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาว อาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (G. g. gallus) และไก่ป่าติ่งหูแดง (G. g. spadiceus) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.

กรอก

หมายถึง[กฺรอก] ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู; ลงข้อความหรือจำนวนเลข เช่น กรอกบัญชี. ว. แห้งจนคลอน, ใช้แก่หมากและฝักมะขาม ว่า หมากกรอกมะขามกรอก.

กระรอก

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor).

เป่า

หมายถึงก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทำให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียงโดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทำให้สิ่งที่อยู่ในลำกล้องเช่นกล้องเป่าเป็นต้น ออกจากลำกล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.

แขกไม่ได้รับเชิญ

หมายถึง(สำ) น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำให้เกิดความเสียหาย หรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญจะเข้ามา.

ลา

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus asinus ในวงศ์ Equidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้า รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหางเป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.

สาแหรก

หมายถึง[-แหฺรก] น. เครื่องใส่ของสำหรับหิ้วหรือหาบเป็นต้น ปรกติทำด้วยหวาย มี ๔ สาย ตอนบนทำเป็นหูสำหรับหิ้วหรือสอดไม้คาน ตอนล่างขัดกันเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับวางกระจาดเป็นต้น. (เทียบ ข. สงฺแรก).

เสนาะ

หมายถึง[สะเหฺนาะ] ว. น่าฟัง, เพราะ, เช่น เพลงนี้ไพเราะเสนาะหู; (กลอน) วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น แถลงปางบำราศห้อง โหยครวญ เสนาะเสน่ห์กำสรวล สั่งแก้ว. (นิ. นรินทร์). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).

ข้างกบ

หมายถึงน. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลายแผ่นกระดานยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดานกรุกระหนาบข้างคูหาหรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่งต่าง ๆ, บานกบ ก็ว่า.

คิ้ว

หมายถึงน. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอกเป็นลวดสำหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทำเป็นลวดในใบพายว่า พายคิ้ว.

อารมณ์

หมายถึงน. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่งมักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มีอัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).

บานกบ

หมายถึงน. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลายแผ่นกระดานยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดานกรุกระหนาบข้างคูหาหรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่งต่าง ๆ, ข้างกบ ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ