ค้นเจอ 206 รายการ

ตรง,ตรง ๆ

หมายถึง[ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสาให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกำหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบังอำพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรงเข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.

บายศรี

หมายถึงน. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).

เม็ด

หมายถึงน. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า; ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็นก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมียอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุกที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.

ตะขาบ

หมายถึงน. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สำหรับชักให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตีกันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.

วาง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจำที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.

กระทุ่ม

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).

ลูกดิ่ง

หมายถึงน. โลหะตันรูปทรงกรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของนํ้า ตรวจสอบเสาหรือกำแพงเป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่; ตะกั่วก้อนเล็ก ๆ รูปทรงกรวย ใช้ถ่วงสายเบ็ดสำหรับตกกุ้ง; ตะกั่วก้อนกลม ๆ เจาะรูผูกไว้ที่ปลายทั้ง ๒ ข้าง ใช้แกว่งหรือเหวี่ยงเป็นอาวุธ; ตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา.

แป

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือนตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกำเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป).

แคร่

หมายถึง[แคฺร่] น. ที่สำหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทำด้วยฟากหรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทำเสาเป็นเครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สำหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์.

ปักหลัก

หมายถึงน. (๑) ชื่อนกกระเต็นชนิด Ceryle rudis ในวงศ์ Alcedinidae ตัวสีขาวลายดำ ปากหนาแหลมตรงสีดำ มักเกาะตามหัวเสาหรือตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก. (๒) ชื่อเหยี่ยวชนิด Elanus caeruleus ในวงศ์ Accipitridae อกสีขาว หลังสีเทา โคนปีกสีดำ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ, เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ จึงเรียกว่า ปักหลัก.

กรรภิรมย์

หมายถึง[กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสำรับหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนำช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.

ขัณฑสกร

หมายถึง[ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบล ซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา; ส.ขณฺฑศรฺกรา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ