ค้นเจอ 346 รายการ

ศาลชั้นต้น

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.

อรินทร์

หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชาหรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).

พระนาย

หมายถึงน. คำเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า พระนายไวยวรนาถ.

คำขอ

หมายถึง(กฎ) น. คำซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อขอให้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.

คู่ความ

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และหมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ.

ส่งส่วย

หมายถึงก. ส่งเงินเป็นต้นให้เป็นประจำตามที่ตกลงกัน (มักใช้ในทางไม่สุจริต) เช่น ผู้ลักลอบเล่นการพนันต้องส่งส่วยให้พวกนักเลงเจ้าถิ่น.

กร

หมายถึง[กอน] น. มือ (มักใช้ในบทประพันธ์); แขน เช่น เจ้างามกรอ่อนดังงวงเอราวัณ. (กลบท). (ป., ส.).

ชระลั่ง

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คำหลวง กุมาร).

ถอนคำฟ้อง,ถอนฟ้อง

หมายถึง(กฎ) ก. ยื่นคำร้องหรือคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงความประสงค์ว่าจะไม่ดำเนินคดีที่ยื่นฟ้องไว้อีกต่อไป ในคดีแพ่งเรียกว่า ถอนคำฟ้อง ในคดีอาญาเรียกว่า ถอนฟ้อง.

พิพากษา

หมายถึง(กฎ) ก. ตัดสินคดีโดยศาล, เรียกตุลาการผู้ทำหน้าที่ตัดสินดังกล่าวว่า ผู้พิพากษา, เรียกคำตัดสินนั้นว่า คำพิพากษา. (ส. วิวกฺษา ว่า ความสำคัญ).

เป็น

หมายถึงก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.

แก้ฟ้อง

หมายถึง(กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ