ค้นเจอ 518 รายการ

ดลใจ

หมายถึงก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทำ เช่น เทวดาดลใจ กุศลดลใจ มารดลใจ.

อันตราย

หมายถึง[อันตะราย] น. เหตุที่อาจทำให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส. อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).

บ้อ,บ้อหุ้น

หมายถึงน. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง โดยเขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลงบนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน เอามารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือวงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า “อีตัว” โยนลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็นฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยนอีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า “อู้ไว้” หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง.

อัญรูป

หมายถึง[อันยะ-] น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนำไปทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบอันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนำอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.

ชนกกรรม

หมายถึง[ชะนะกะกำ] น. กรรมอันนำให้เกิดหรือกรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทำให้เกิดเป็นคนชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).

แท้ที่จริง

หมายถึงว. คำขึ้นต้นประโยคหรือข้อความแสดงถึงความที่ถูกที่ควร มีความหมายอย่างเดียวกับ ที่จริง อันที่จริง ตามที่จริง.

กระทงเหิน

หมายถึงน. ไม้ขวางเรืออันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, หูกระต่าย ก็เรียก; ขื่อกระดูกเชิงกราน.

ขอบ

หมายถึงก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายในสองนางขอบ, ธขอบคำความมนตรี. (ลอ).

เสริมสร้าง

หมายถึงก. เพิ่มพูนให้ดีหรือมั่นคงยิ่งขึ้น เช่น เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ เสริมสร้างสัมพันธไมตรีอันดี.

รอนสิทธิ์

หมายถึงก. ตัดสิทธิ์, (กฎ) รบกวนขัดสิทธิของบุคคลในอันที่จะครองหรือใช้ทรัพย์สินโดยปรกติสุข.

อภิสมโพธิ,อภิสัมโพธิ

หมายถึง[อะพิสมโพด, -สำโพทิ] น. ความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).

เอกรส

หมายถึง[เอกกะ-] น. รสอันเอก ได้แก่ วิมุตติรส คือ รสที่เกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลส. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ