ค้นเจอ 227 รายการ

ตรีมูรติ

หมายถึงว. มีรูป ๓ คือ รูปพระพรหม รูปพระวิษณุ รูปพระศิวะ. น. ชื่อเรียกเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทำลาย). (ส. ตฺริมูรฺติ).

เพิง

หมายถึงน. สิ่งปลูกสร้างมีทั้งชนิดชั่วคราวขนาดเล็ก และชนิดถาวร ประกอบด้วยหลังคาปีกเดียว, ถ้าเอียงลาด เรียกว่า เพิงหมาแหงน, ถ้ามีแขนนางคํ้าตอนหน้า เรียกว่า เพิงแขนนาง, ถ้าปลายข้างหนึ่งพิงอยู่กับสิ่งก่อสร้างหลัก เรียกว่า เพิงพะ หรือ พะเพิง, ส่วนเพิงพะที่ใช้เป็นที่พักทหาร เรียกว่า เพิงพล.

เรือน

หมายถึงน. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สำหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จำนวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนามใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่ง นาฬิกา ๒ เรือน.

ภาษามีวิภัตติปัจจัย

หมายถึงน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัยประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดงเพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีกโบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส. (อ. inflectional language).

จาบคา

หมายถึงน. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Meropidae ลำตัวเรียวบาง สีออกเขียว ปากสีดำ ขนหางอาจสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิด สร้างรังเป็นโพรงในดินหรือตามหน้าผาเป็นกลุ่ม กินแมลง มีหลายชนิด เช่น จาบคาเคราแดง (Nyctyornis amictus) จาบคาหัวเขียว (Merops philippinus) ซึ่งเดิมเรียก คับคา.

ซุ้ม

หมายถึงน. สิ่งที่สร้างขึ้นในการรับเสด็จเป็นต้น มีรูปลักษณะอย่างซุ้มไม้, ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝนชั่วคราว ส่วนบนมักโค้ง เช่น ซุ้มดอกเห็ด, สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับเป็นเครื่องประดับส่วนบนของประตูหน้าต่างพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร เป็นต้น มีรูปต่าง ๆ กัน เช่นมีรูปคล้ายหน้าจั่ว เรียกว่า ซุ้มบันแถลง ซุ้มหน้านาง หรือ ซุ้มรังไก่.

ปลูก

หมายถึง[ปฺลูก] ก. เอาต้นไม้หรือเมล็ด หน่อ หัว เป็นต้น ใส่ลงในดินหรือสิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต, ทำให้เจริญเติบโต, ทำให้งอกงาม เช่น ปลูกไมตรี; เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกันเข้าเพื่อทำเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัยโดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกบ้าน ปลูกเรือน, ปลูกสร้าง ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการกระทำที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกพลับพลายก.

กลไก

หมายถึง[กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไกการย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).

ชะตา

หมายถึงน. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทำให้รู้สึกชอบหรือไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสำแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลาเกิดของคน หรือเวลาสร้างสิ่งสำคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่โหรคำนวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศี เรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.

เขื่อน

หมายถึงน. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลำนํ้า เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดินหรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).

พัดยศ

หมายถึงน. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา การบริหาร หรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.

ตะลุง

หมายถึงน. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ