ค้นเจอ 303 รายการ

อุปมา

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ, มักใช้เข้าคู่กับ อุปไมย ในประโยคเช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น. ก. เปรียบเทียบ. (ป., ส.).

สายหยก

หมายถึงน. เชือกผูกรั้งตรวนเพื่อให้นักโทษเดินสะดวกขึ้น เช่น มือถือสายหยกยกสะเทิน พลั้งเท้าก้าวเกินก็ล้มลง. (ขุนช้างขุนแผน).

แม่ปะ

หมายถึงน. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่งคล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ท้ายต่อไม้ยกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่อง มักใช้ถ่อ, หางแมงป่อง ก็เรียก.

ราวี

หมายถึงก. รบ เช่น ยกทัพไปราวีข้าศึก, รบกวนหรือระรานโดยใช้กำลังรังแกเป็นต้น เช่น อันธพาลชอบราวีชาวบ้าน, (ปาก) สู้กัน, ตะลุมบอนกัน, เช่น นักเรียนกำลังราวีกัน.

กุมุท

หมายถึง[กุมุด] (แบบ) น. บัว, บัวขาว, บัวสาย. (ป., ส.); เลขนับจำนวนสูงเท่ากับ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ยกกำลัง ๑๕ หรือ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๑๐๕ ตัว.

ข้าพระ

หมายถึง(โบ) น. ผู้ที่นายเงินทำหนังสือสำคัญยกให้เป็นคนใช้ของสงฆ์, คนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์ เพื่อรักษาวัดและปฏิบัติพระสงฆ์.

ธรรมาธิษฐาน

หมายถึง[ทำมาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยกหลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺาน).

สายสูตร

หมายถึงน. เชือกหนังที่ผูกช้างให้เดินตามกัน; เส้นด้ายที่เจ้านายหรือสมเด็จพระสังฆราชจับโยงไปเพื่อกระทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ยกช่อฟ้าหรือเททองหล่อพระพุทธรูปเป็นต้น.

เสิร์ฟ

หมายถึงก. ยกอาหารหรือเครื่องดื่มมาบริการ เช่น บริกรเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้า; (กีฬา) เริ่มส่งลูกให้ฝ่ายตรงข้ามรับ เช่น ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายได้เสิร์ฟก่อน. (อ. serve).

โขยกเขยก

หมายถึงอาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน อาการที่เดินไปด้วยความลำบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ กะโผลกกะเผลก ก็ว่า

หาเหตุ

หมายถึงก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; หาข้ออ้าง เช่น เขาหาเหตุลาหยุดงาน.

เบามือ,เบาไม้เบามือ

หมายถึงก. ทำเบา ๆ หรือค่อย ๆ ด้วยความระมัดระวัง, ทำไม่ให้หนักมือหรือรุนแรง; ช่วยให้ไม่ต้องทำงานมาก. ว. ที่ออกแรงน้อยในการจับถือหรือยกเป็นต้น เช่น ไม้เท้าเบามือ กระเป๋าเบามือ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ