ค้นเจอ 263 รายการ

โลกธรรม

หมายถึง[โลกกะ-] น. เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก ทางพระพุทธศาสนามี ๘ ประการ คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ ๕. สรรเสริญ ๖.นินทา ๗. สุข ๘. ทุกข์. (ส. โลกธรฺม; ป. โลกธมฺม).

ธรรมจักร

หมายถึงน. ชื่อปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; แดนธรรม; เครื่องหมายทางพระพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อมี ๘ ซี่บ้าง ๑๒ ซี่บ้าง. (ส.).

บริขาร

หมายถึง[บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).

อริยมรรค

หมายถึงน. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทางดำเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).

ธาตุ

หมายถึง[ทาด, ทาตุ-] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่น-อีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.

รำพึง

หมายถึงก. คิดถึง, คิดคำนึงอยู่ในใจ, เช่น เขารำพึงถึงความหลังด้วยความเศร้าใจ. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง.

มหาธาตุ

หมายถึงน. พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า, พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ ก็เรียก; เรียกพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุ ว่า มหาธาตุ เช่น เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นและผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้. (ศิลาจารึกนครชุม), เรียกวัดที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรมธาตุว่า วัดมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีมหาธาตุบ้าง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบ้าง.

ลีลา

หมายถึงน. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะแก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).

ทรมาน

หมายถึง[ทอระมาน] ก. ทำให้ลำบาก, ทำทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทำให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้นด้วยคำนี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).

ศีล

หมายถึง[สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม); พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).

ขัดสมาธิ

หมายถึง[ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้นข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย.

อริยสัจ

หมายถึงน. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อธรรมสำคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ