ค้นเจอ 680 รายการ

จีวร,จีวร-

หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).

ขึงอูด

หมายถึงก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.

สักหลาด

หมายถึง[สักกะหฺลาด] น. ผ้าทำด้วยขนสัตว์. (ฮินดูสตานี sakalet).

ยั่นตะนี

หมายถึงน. ผ้ามัสลินพิมพ์ดอก. (เทียบฮินดูสตานี jamdani).

นิสีทน,นิสีทน-,นิสีทนะ

หมายถึง[นิสีทะนะ-] (แบบ) น. การนั่ง; ผ้ารองนั่งของภิกษุ. (ป.).

เครื่องราง

หมายถึงน. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล.

ชายแครง

หมายถึงน. ผ้าห้อยทับหน้าขาทั้ง ๒ ข้าง (เครื่องแต่งกาย).

อเจลก,อเจละ

หมายถึง[อะเจ-ลก] น. คนไม่นุ่งผ้า, คนเปลือย, ชีเปลือย. (ป.).

ละมุน

หมายถึงว. อ่อนนุ่ม, นุ่มนวล, เช่น ผ้ากำมะหยี่เนื้อนิ่มละมุนมือ.

ปาวาร

หมายถึง[ปาวาน] (แบบ) น. ผ้าห่มใหญ่. (ป.; ส. ปฺราวาร).

ภูษา

หมายถึงน. เครื่องนุ่งห่ม, ผ้าทรง. (ส.; ป. ภูสา ว่า เครื่องประดับ).

จองกฐิน

หมายถึงก. แจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้น ๆ ไว้เป็นการล่วงหน้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ