ค้นเจอ 276 รายการ

นิวรณ์

หมายถึงน. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจรักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).

บวง

หมายถึงก. บูชา เช่น บวงเทพทุกเถื่อนถํ้า มณฑล ทวีปเอย. (นิ. นรินทร์), มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บนบวง บวงสรวง บำบวง.

แง่

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.

กระหง่อง,กระหน่อง,กระหน่อง

หมายถึง(โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.

ไซยาไนด์

หมายถึงน. เกลือปรกติของกรดไฮโดรไซยานิก (HCN) เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) เกลือไซยาไนด์ทั้งหมดเป็นพิษอย่างร้ายแรง. (อ. cyanide).

ควิว ๆ

หมายถึง[คฺวิว-] (กลอน) ว. อาการที่ใจหวิว ๆ เช่น ควิวควิวอกควากคว้าง ลมลอยแลแม่. (นิ. นรินทร์).

นิติ

หมายถึง[นิ-ติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).

กำลังภายใน

หมายถึงน. กำลังที่เร้นอยู่ภายใน, กำลังที่เกิดจากการฝึกจิต โดยเฉพาะในลัทธิเต๋าและพระพุทธศาสนาบางนิกาย เพื่อให้จิตใจกล้าแข็งจนสามารถทำสิ่งที่คนทั่วไปทำไม่ได้.

ปริกรรมนิมิต

หมายถึง[ปะริกำมะนิมิด] น. “อารมณ์ในบริกรรม” คือ สิ่งที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็นอารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).

กระลูน

หมายถึง(กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอดกว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).

ฌาน

หมายถึง[ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทำจิตให้สงบตามหลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดยปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลำดับที่ประณีตขึ้นไปกว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียกว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).

จรลาด,จรหลาด

หมายถึง[จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ