ค้นเจอ 209 รายการ

เรื่องสั้น

หมายถึงน. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช.

แนม

หมายถึงก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริกมีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.

สระ

หมายถึง[สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).

สมาชิก

หมายถึง[สะมา-] (คณิต) น. สิ่งแต่ละสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในเซตใดเซตหนึ่ง เช่น { ก, ข, ค } คือ เซตของอักษร ๓ ตัวแรกในภาษาไทย มีสมาชิก ๓ ตัว, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในคู่อันดับใดคู่อันดับหนึ่ง เช่น (ก, ข) คือ คู่อันดับหนึ่งที่มี ก เป็นสมาชิกตัวหน้า ข เป็นสมาชิกตัวหลัง. (อ. element, member).

ป้าย

หมายถึงน. แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เช่น ป้ายชื่อห้างร้าน ป้ายจราจร; (กฎ) วัตถุที่แสดงหรือโฆษณาด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น เพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้.

พยัญชนะ

หมายถึง[พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.

หา

หมายถึงก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่งทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.

อายุ

หมายถึงน. เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่, เวลาชั่วชีวิต, ช่วงเวลานับตั้งแต่เกิดหรือมีมาจนถึงเวลาที่กล่าวถึง, ระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อายุใบอนุญาต ยานี้หมดอายุแล้ว, ระยะเวลาที่กำหนดรู้ความยั่งยืนของสิ่งนั้น ๆ เช่น อายุของหิน. (ป.; ส. อายุสฺ หรือ อายุษฺ เมื่อนำหน้าบางคำ, แต่เมื่อนำหน้าอักษรตํ่ากับตัว ห เปลี่ยน สฺ เป็น รฺ เช่น อายุรเวท, แต่ถ้าใช้อย่างบาลีก็ไม่ต้องมี ส หรือ ร).

วงเล็บ

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สำหรับใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ (ความอยากได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรมสามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 - b2 = (a + b)(a - b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

ชั้นฉาย

หมายถึงน. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้งโบราณกำหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงา เป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.

หัวใจ

หมายถึงน. อวัยวะภายในสำหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มีหัวใจ; ส่วนสำคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกำหนดจำได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า “ทุ. ส. นิ. ม.” หัวใจนักปราชญ์ ว่า “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” หัวใจเศรษฐี ว่า “อุ. อา. ก. ส.”.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ