ค้นเจอ 398 รายการ

บ,บ,บ่

หมายถึง[บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.

ปัจฉิมลิขิต

หมายถึง[ปัดฉิม-] น. “เขียนภายหลัง” คือหนังสือที่เขียนเพิ่มเติมลงท้ายเมื่อเซ็นชื่อแล้ว, ใช้อักษรย่อว่า ป.ล.

หนังสือรับรองการทำประโยชน์

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ออกให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อแสดงว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว.

ฟองมัน

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปอย่างนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สำหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ตาไก่ ก็เรียก.

โย้เย้

หมายถึงว. รวนหรือซวนเซมีอาการจะหลุดหรือทลายลง เช่น ฟันโย้เย้ เรือนโย้เย้, ไม่ตรงรูป เช่น เขียนหนังสือโย้เย้.

บรรณานุกรม

หมายถึง[บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.

นามสงเคราะห์

หมายถึง[นามมะสง-] น. หนังสือที่รวบรวมคำพูดไว้, อภิธาน; สมุดรายชื่อพร้อมทั้งที่อยู่หรือที่ทำงานของบุคคล. (ส.).

แปรกบัง

หมายถึง[ปะแหฺรก-] น. ไม้ยาวสำหรับประกับหัวเพลาทั้ง ๒ ข้างของเกวียนหรือราชรถ กันไม่ให้ลูกล้อเลื่อนหลุด โดยมีไม้ขวางทางหรือแปรกขวางทางยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้าน.

กรรมวาจก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.

หนังสือเดินทาง

หมายถึงน. หนังสือสำคัญประจำตัวซึ่งทางราชการของประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อให้ความคุ้มครองในการเดินทางไปในดินแดนต่างประเทศ.

นูน

หมายถึงว. สูงขึ้นจากระดับพื้นเดิม ในลักษณะอย่างหนังสือตัวนูน ลวดลายนูน, มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งออกไป.

ตั๋วเงิน

หมายถึง(กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงินตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ