ค้นเจอ 216 รายการ

ราชสวัสดิ์

หมายถึงขนบที่ผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทพึงกระทำ

เส้นใย

หมายถึงน. วัสดุที่เป็นเส้น ใช้ประโยชน์นำไปทำสิ่งทอเช่นเสื้อผ้า พรม แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เส้นใยธรรมชาติ ประเภทนี้มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น เส้นใยที่ได้จากขนสัตว์ ฝ้าย นุ่น ป่าน ปอ ไหม แร่ซิลิเกต และเส้นใยสังเคราะห์ ประเภทนี้ไม่มีในธรรมชาติ เป็นเส้นใยที่สร้างขึ้นโดยวิธีทางเคมี เช่น ไนลอน ไหมเทียม เส้นใยแก้ว.

รำแพน

หมายถึงก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่นกยูง นกหว้า และนกแว่น). น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการพระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้ง สวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด.

ถก

หมายถึงก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถกเศียร, ถลก ก็ว่า; ทึ้งให้หลุดออก เช่น ถกหญ้า ถกเถาวัลย์; โดยปริยายหมายความว่า ยกเอาขึ้นมาพิจารณากันด้วยเหตุผล เช่น ถกปัญหา.

เส้นใยแก้ว

หมายถึงน. เส้นใยสังเคราะห์ทำจากแก้วให้เป็นเส้นเล็ก ๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า เซนติเมตร นำไปทอให้เป็นแผ่นแล้วชุบฉาบด้วยเรซินซึ่งเป็นสารประเภทพลาสติก ผลที่ได้เป็นแผ่นวัสดุที่เหนียวแข็งแรง ใช้ประโยชน์ทำเป็นแผ่นฉนวนความร้อน กันเสียง เสื้อเกราะกันกระสุน สร้างเรือขนาดเล็ก สร้างส่วนตัวถังรถยนต์ เป็นต้น. (อ. glass fibre).

ติด

หมายถึงก. อาการที่ข้องอยู่ เช่น ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในกิเลส; ประดับ เช่น ติดเหรียญ ติดตรา เอาดอกไม้ติดผม; แนบอยู่ เช่น เนื้อติดมัน เนื้อติดกระดูก; ทำให้เกิดขัดอยู่หรือข้องอยู่จนไม่อาจให้เคลื่อนไปได้ เช่น ติดขบวนแห่ ติดไฟแดง ติดฝน; ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่ ติดฝิ่น; อาศัยไปด้วยหรือมาด้วย เช่น ติดรถไปด้วย; ผนึก เช่น ติดแสตมป์ ติดประกาศ ติดกาว; จุด เช่น ติดไฟ ติดตะเกียง ติดเตาฟู่; ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เช่น ห้องติดกัน; ได้รับเชื้อโรค เช่น ติดหิด; คงอยู่หรือทำให้คงอยู่ เช่น สีติดเสื้อ เสื้อติดสี; ไม่ร่วง, ไม่หลุด, (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มะม่วงปีนี้ติดมาก; อยู่ในที่คุมขัง เช่น ติดคุก ติดตะราง; กักบริเวณ เช่น ติดสนม; คล้าย, ใกล้ข้าง, เช่น หน้าตาติดไปทางพ่อ; (ปาก) มีหนี้สินติดค้างกันอยู่ เช่น ติดเงิน.

กระเป๋า

หมายถึงน. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทำด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สำหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อหรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, ปาก ก็เรียก; (ปาก) เรียกถุงหน้าท้องสำหรับใส่ลูกของสัตว์บางชนิดเช่นจิงโจ้ ม้าน้ำ.

ยาว

หมายถึงว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยายออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน.

ละเอียด

หมายถึงว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้าละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือแจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดยละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.

ลอง

หมายถึงก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิมผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือน้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสมหรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่งท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.

หม่อม

หมายถึงน. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตรชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คำนำหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตำแหน่ง, คำนำหน้าชื่อหญิงสามัญซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาคทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คำนำหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมีตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.

เลอะ

หมายถึงว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละอย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชักเลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้วชักจะเลอะ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ