ค้นเจอ 1,823 รายการ

โคลง

หมายถึง[โคฺลง] น. คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและบังคับเอกโทตามตำราฉันทลักษณ์.

นี่เอง

หมายถึงคำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.

ประติ,ประติ-

หมายถึงเป็นคำสันสกฤตใช้เหมือน ปฏิ. (ดูคำที่มี ปฏิ หรือ ประติ นำหน้า).

หือ

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกสงสัยเพื่อถามหรือเมื่อยังไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจ, (เป็นคำสำหรับผู้ใหญ่กว่าหรือเสมอกันใช้).

วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์

หมายถึง[วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).

อินทรวิเชียร

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น

คะ

หมายถึงว. คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.

คำตั้ง

หมายถึงน. คำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทำพจนานุกรม; คำที่เป็นหลักให้คำอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคำติดต่อ.

กระเกรียบ,-กระเกรียบ

หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระกรับ เป็น กระกรับกระเกรียบ.

กระดิ้ง,-กระดิ้ง

หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระดุ้ง เป็น กระดุ้งกระดิ้ง.

กระยาด,-กระยาด

หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระยืด เป็น กระยืดกระยาด.

กระส่าย,-กระส่าย

หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระสับ เป็น กระสับกระส่าย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ