ค้นเจอ 419 รายการ

ฟังได้

หมายถึงว. พอเชื่อถือได้ เช่น ที่พยานให้การมานั้นฟังได้, ไม่ขัดหู เช่น เพลงไพเราะพอฟังได้.

ฉ่า

หมายถึงว. เสียงนํ้ามันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลงแม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงนํ้าดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).

ลูกตอด

หมายถึงน. การบรรเลงที่ทำเสียงกระตุกสั้น ๆ สลับจังหวะทำนองเพลง.

ปะวะหลิ่ม

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะหลิ่ม หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.

ปะหลิ่ม

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะวะหลิ่ม หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.

ประพาสมหรณพ

หมายถึง[ปฺระพาดมะหอระนบ] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.

ประหลิ่ม

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม หรือ มะหลิ่ม ก็ว่า.

มะหลิ่ม

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, บหลิ่ม ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม ปะวะหลิ่ม หรือ ปะหลิ่ม ก็ว่า.

ช้างประสานงา

หมายถึงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.

ฉ่อย

หมายถึงน. ชื่อเพลงสำหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสำคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่.

บังใบ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้ขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร.

กราว

หมายถึง[กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทำบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทำเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สำหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์มหาราช ในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรำเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรงก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้องเป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทำในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือเล่นสนุกกัน ทำนองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ