ค้นเจอ 200 รายการ

เบี้ยปรับ

หมายถึง(กฎ) น. จำนวนเงินหรือการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็นจำนวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้.

ลูกหลง

หมายถึงน. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้างอยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่นซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับเคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มีเจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไปหมอบกับพื้นเวที.

นอก

หมายถึงบ. ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือน นอกประเทศ นอกกาย นอกตำแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของนอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก, เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจากนอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน.

พยัญชนะ

หมายถึง[พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.

พิเศษ

หมายถึงว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษ เขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศเป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษ พระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).

รูปธรรม

หมายถึง[รูบปะทำ] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือสิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทำโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากินนํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).

สมาคม

หมายถึง[สะมา-] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.

ลอง

หมายถึงก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิมผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือน้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสมหรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่งท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.

ศาลล้มละลาย

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้องลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลาย นอกจากนั้นยังรวมถึงคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาทกับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจากการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.

ดัดแปลง

หมายถึง[-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน นํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง; ทำซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.

เต้า

หมายถึงน. เครื่องบนของเรือนสำหรับสอดที่ช่องปลายเสารับเชิงกลอน, ถ้าอยู่ตามเสาที่ไม่ใช่มุม เรียก เต้าราย, ถ้าอยู่ที่เสามุมรับเชิงชายทั้ง ๒ ข้าง เรียก เต้ารุม; (ราชา) หม้อใส่นํ้า เรียกว่า พระเต้าษิโณทก; นม; นํ้าเต้า; เรียกภาชนะที่มีรูปคล้ายนํ้าเต้า เช่น เต้าปูน เต้านํ้า; ลักษณนามเรียกนมหรือพูลูกตาล เช่น นมเต้าหนึ่ง ตาล ๒ เต้า; เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะฐานนูนขึ้นอย่างเต้านม.

พล,พล-

หมายถึง[พน, พนละ-, พะละ-] น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตำรวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ