ค้นเจอ 276 รายการ

ล่วงเลย

หมายถึงก. ผ่านพ้น เช่น เหตุการณ์ล่วงเลยไปแล้ว ไม่ควรปล่อยวันเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คำเดียว.

เห็นช้างเท่าหมู

หมายถึง(สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจมากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.

ชระงม

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คำหลวง มหาราช).

ชะต้า

หมายถึง(แบบ) อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขาเป็นหญิงยังทำได้. (ขุนช้างขุนแผนแจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี.

นิ่ว

หมายถึงก. ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. ว. มีสีหน้าเช่นนั้น ในคำว่า หน้านิ่ว.

ประทุษฏจิต,ประทุษฐจิต

หมายถึง[ปฺระทุดตะจิด, ปฺระทุดถะจิด] น. จิตร้าย, จิตโกรธ.

สะบัดก้น

หมายถึงก. อาการที่ลุกผละไปทันทีด้วยความไม่พอใจเป็นต้น เช่น กินแล้วก็สะบัดก้นไป พูดยังไม่ทันรู้เรื่องก็โกรธสะบัดก้นไปแล้ว.

ฟุน

หมายถึงก. ลุกฮือ (ใช้แก่ไฟ), โกรธเป็นไฟ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไฟ เป็น ฟุนไฟ หรือ ไฟฟุน.

กระแบ่

หมายถึง(โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนำใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คำหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.

กะบึงกะบอน

หมายถึงก. โกรธอย่างแสนงอน, กะบอนกะบึง ก็ว่า. ว. ไม่รู้จักจบ, เง้า ๆ งอด ๆ, (ใช้แก่กริยา บ่น), กะบอนกะบึง ก็ว่า.

โทสาคติ

หมายถึงน. ความลำเอียงเพราะความโกรธ เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. โทส + อคติ).

ออกฤทธิ์

หมายถึงก. สำแดงคุณหรือโทษให้ปรากฏ เช่น ยาออกฤทธิ์ ยาพิษออกฤทธิ์; (ปาก) อาละวาดด้วยความโกรธเพราะถูกขัดใจเป็นต้น, แผลงฤทธิ์ ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ