ค้นเจอ 230 รายการ

พยติเรก

หมายถึง[พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยคใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).

วิปฏิสาร,วิประติสาร

หมายถึง[วิบปะติสาน, วิปฺระ-] น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทำผิด หรือเนื่องด้วยการกระทำผิด). (ป. วิปฺปฏิสาร; ส. วิปฺรติสาร).

สมมต,สมมติ,สมมติ-,สมมุติ,สมมุติ-

หมายถึง[สมมด, สมมด, สมมดติ-, สมมุด, สมมุดติ-] ก. รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง. สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. ว. ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คำนึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมติเทพ.

ชาติพันธุ์วิทยา

หมายถึง[ชาดติพันวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ กำเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ. (อ. ethnology).

อาราธนาศีล

หมายถึงก. ขอให้พระภิกษุหรือสามเณรให้ไตรสรณคมณ์และศีล โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห ... สีลานิ ยาจาม.

ชาติ,ชาติ,ชาติ-,ชาติ-

หมายถึง[ชาด, ชาดติ-] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.

ว่าขาน

หมายถึงก. พูดต่อว่า, พูดติ, เช่น พระมิได้ตอบคำว่าขาน ตรัสแต่กิจการกรุงศรี แต่ดูพระกิริยาพาที เหมือนจะเคลื่อนคลายที่โกรธา ฯ (อิเหนา).

ประติมากรรม

หมายถึง[ปฺระติมากำ] น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ. (ส. ปฺรติมา + กรฺม; ป. ปฏิมา + กมฺม).

สติ

หมายถึง[สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).

เสียแต้ม

หมายถึงก. เสียคะแนน เช่น นักกีฬาทำผิดกติกาเลยเสียแต้ม, ขายหน้า เช่น วันนี้เสียแต้ม นัดไปเลี้ยงเพื่อนแล้วลืมเอากระเป๋าสตางค์ไป, เสียความนิยม เช่น ถ้านักการเมืองพูดไม่ถูกใจประชาชน ก็จะเสียแต้ม.

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

กฤตติกา

หมายถึง[กฺริดติ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก, (โบ) เขียนเป็น กฤติกา ก็มี. (ส. กฺฤตฺติกา; ป. กตฺติกา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ