ค้นเจอ 203 รายการ

อุคหนิมิต

หมายถึงน. “อารมณ์ที่เจนใจ” คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชำนาญจนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็นเครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).

ภาพพจน์

หมายถึง[พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).

เฉิบ,เฉิบ ๆ

หมายถึงว. คำร้องบอกจังหวะในการเต้นหรือรำ, มีท่าทางเนิบ ๆ เป็นจังหวะ เช่น รำเฉิบ ๆ เดินเฉิบ ๆ พายเรือเฉิบ ๆ, ใช้ประกอบคำอื่นมีความหมายไปในทางที่มีอาการประหนึ่งว่าเป็นเช่นนั้น เช่น นั่งสบายใจเฉิบ.

เที่ยว

หมายถึงก. กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป, มักใช้พูดประกอบกับกริยาอื่น เช่น เที่ยวหา เที่ยวพูด เที่ยวกิน เที่ยวนอน; ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลินตามสบาย เช่น ไปเที่ยว เดินเที่ยว ท่องเที่ยว, เตร็ดเตร่ไปเพื่อหาความสนุกเพลิดเพลินตามที่ต่าง ๆ เช่น เที่ยวงานกาชาด.

จินตนิยม

หมายถึงน. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือกันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญกว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).

ยั่ว

หมายถึง(โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคำ ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทำให้เกิดอารมณ์ในทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.

ด้วย

หมายถึงว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คำนำหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องกระทำ เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่น ทำด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.

เชิญ

หมายถึงก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทานอาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนำไปเป็นต้นด้วยความเคารพ เช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าวอนุญาตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.

สงบ

หมายถึง[สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจรผู้ร้าย.

สะกด

หมายถึงก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคำ, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคำที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).

สมาบัติ

หมายถึง[สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิตเพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการเข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).

กสิณ

หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ